Universitas Lambung Mangurat ประเทศอินโดนีเซีย เข้าพบคณบดี สร้างความร่วมมือทางวิชาการ

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565 มหาวิทยาลัย Universitas Lambung Mangurat นำโดย Dr. M. Bakhriansyah คณบดีคณะแพทย์และทีมอีก 7 คน เข้าพบ ศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ เพื่อพูดคุยปรึกษาหารือถึงความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและอาจารย์ในด้าน “Clinic for Counseling” หรือเรียกว่า “คลินิกทางด้านจิตวิทยา” การร่วมมือของทั้งสองฝ่ายจะเกิดขึ้นโดยการเปิดหลักสูตรนี้ขึ้นมาเป็นระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 3 เดือน ในช่วงภาคฤดูร้อนเพื่อการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ อีกทั้งยังเป็นหลักสูตรที่จะเปิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือเด็กพิเศษหรือมีสุขภาพปัญหาทางจิต

ต้อนรับคณะผู้บริหารจาก มศว. ศึกษาดูงานแนวทางการพัฒนาคุณภาพคณะ ตามเกณฑ์ EdPEx

ในวันที่ 21 ธันวาคม 2565 เวลา 09.00 น. ศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดี พร้อมด้วยทีมผู้บริหาร ผู้อำนวยการและหัวหน้างานคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้การต้อนรับคณะผู้ศึกษาดูงานจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งนำทีมผู้บริหารและคณาจารย์ โดย ผศ.ดร.รุ่งทิวา แย้มรุ่ง คณบดี เข้าศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการพัฒนาคุณภาพคณะ ตามเกณฑ์ EdPEx ในการนี้คณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอต้อนรับคณะผู้ศึกษาดูงานและมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง มา ณ โอกาสนี้

ผู้บริหาร ร่วมแสดงความยินดีแด่ผู้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์และรางวัลอื่นๆ

ร่วมแสดงความยินดีแด่ผู้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์และรางวัลอื่นๆ

ศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ พร้อมทีมผู้บริหาร เข้าร่วมเป็นเกียรติในงานแสดงความยินดี แด่ผู้รับพระราชทานปริญญาดุษฎี บัณฑิตกิตติมศักดิ์ รางวัลศาสตราจารย์เกียรติคุณ รางวัลพระธาตุพนมทองคํา รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น รางวัลศรีมอดินแดง รางวัลศรีกาลพฤกษ์ และรางวัลกาลพฤกษ์ทองคํา ประจําปี พ.ศ. 2565 ในวันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2565 เวลา 18.00 น. – 20.00 น. ณ ห้องออคิดบอลรูม ชั้น 2 โรงแรม พูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น

รายชื่อผู้ได้รับรางวัลต่างๆ มีดังนี้

1.ผู้ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

– พระราชภาวนาวชิรากร วิ. (หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก)

– นายภควัต โกวิทวัฒนพงศ์

– รศ.โนริเอะ อารากิ

-ศ.อารันต์ พัฒโนทัย

– ศ.วุฒิสาร ตันไชย

2.รางวัลศาสตราจารย์เกียรติคุณ

-ศ.ธีระ รุญเจริญ

– ศ.สุกิจ แสงนิพันธ์กุล

– ศ.อนันต์ พลธานี

– ศ.ยศอนันต์ ยศไพบูลย์

3.รางวัลพระธาตุพนมทองคำ

– รศ.รังษี นันทสาร

4.รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น

– นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง

– นายมานิตย์ ปานเอม

5.รางวัลศรีมอดินแดง

– ประเภทบุคลากรวิชาการ ได้แก่ รศ.ดร.วรานุช ปิติพัฒน์

– ประเภทบุคลากรสายสนับสนุน ได้แก่ นายสงัด ปัญญาพฤกษ์

6.รางวัลศรีกาลพฤกษ์

– นางสาวณิชาภัทร ปาณัฐโยธิน

7.รางวัลกาลพฤกษ์ทองคำ

– นายอำนาจ พรหมสูตร

ในนามผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอแสดงความชื่นชมยินดีต่อผู้ที่ได้รับรางวัลทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้

ศึกษาศาสตร์รวมพลัง “Kick Off The Plans 2022”

เมื่อวันที่ 24-26 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา คณะศึกษาศาสตร์และโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ (Kick Off The Plans) และการลงนามข้อตกลงการปฏิบัติงานสู่ความเป็นเลิศ Objective Key Results (OKRs) ประจำปีงบประมาณ 2566” โดยการนำทีมผู้บริหารคณะฯ ของ ศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ร่วมกับผู้บริหารของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ ห้องประชุม โรงแรมแม่โขง เฮอริเทจ และโรงแรมสิริ รีเจ้นท์ จังหวัดนครพนม

ศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ กล่าวในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ตอนหนึ่งว่า “สืบเนื่องจากการที่คณะศึกษาศาสตร์ได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2566 นั้น จึงได้ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการประชุมเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ (Kick Off The Plans) และการลงนามข้อตกลงการปฏิบัติงานสู่ความเป็นเลิศ Objective Key Results (OKRs) ประจำปีงบประมาณ 2566  นี้ เพื่อให้การเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินการมีความสอดคล้องกับภารกิจหลัก ประเด็นยุทธศาสตร์ ความคุ้มค่าในการจัดสรรงบประมาณ ตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนงานปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ และเป็นไปตามทิศทางการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และเพื่อการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2566 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามแนวนโยบาย พันธกิจหลักของคณะศึกษาศาสตร์ และวันนี้ คณะศึกษาศาสตร์ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้มีความรู้ ความเชียวชาญ และมีประสบการณ์มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างแรงบันดาลใจ ในเรื่องของ ยุทธศาสตร์การบริการวิชาการและนวัตกรรมเชิงพื้นที่ ในโอกาสนี้ขอขอบพระคุณวิทยากรทุกท่านที่ได้สละเวลาอันมีค่ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างแรงบันดาลใจ ในเรื่องของ ยุทธศาสตร์การบริการวิชาการและนวัตกรรมเชิงพื้นที่ วันนี้”

          จากนั้นมีการเสวนาใน หัวข้อ ยุทธศาสตร์การบริการวิชาการและนวัตกรรมเชิงพื้นที่ โดย  ผศ.ดร.กัญลยา มิขะมา รักษาราชการแทนรองอธิการบดี ฝ่ายนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยนครพนม และอาจารย์ จรินทร โคตรพรม รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม เป็นวิทยากร             ในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีพิธีลงนามข้อตกลงการปฏิบัติงานสู่ความเป็นเลิศ Objective Key Results (OKRs) ประจำปีงบประมาณ 2566 ด้วย หลังจากที่คณะศึกษาศาสตร์ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งแต่ละฝ่ายงานได้ดำเนินการจัดทำรายละเอียดกิจกรรมของหลักสูตร ที่เชื่อมโยงกับโครงการหลักของคณะศึกษาศาสตร์ และได้พิจารณาเลือกตัวชี้วัดที่แต่ละฝ่ายงานสามารถดำเนินการได้ภายใต้บริบทการบริหารจัดการของแต่ละฝ่ายงาน พร้อมทั้งกำหนดค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดหลัก OKRs โดยดำเนินงานผ่านโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อให้การขับเคลื่อนการปฏิบัติงานสู่ความเป็นเลิศ OKRs บรรลุตามค่าเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ต่อไป

คณะศึกษาศาสตร์เข้าร่วมการประชุมเครือข่ายความร่วมมือพันธมิตร APEC Thailand 2022 เพื่อขับเคลื่อน Let’s Code Thailand

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา ศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ พร้อมด้วย รศ.ดร.จารุณี ซามาตย์ รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ และ รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมเพื่อสร้างความร่วมมือ Let’s Code Thailand เครือข่ายพันธมิตร APEC ซึ่งประกอบด้วย Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation of Thailand (MHESRI)’s Office of National Higher Education, Science, Research and Innovation Policy Council (NXPO) & PMU-B, The Asia Foundation (TAF), Digital Makers Asia Pacific (DMAP) และ Google พร้อมกับการแลกเปลี่ยนนวัตกรรม แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับสากลที่ใช้ในการสร้างกำลังคนสู่อุตสากรรมยุคดิจิทัลของประเทศต่างๆ รวมถึงภาคเอกชนที่มีความต้องการกำลังคนด้านนี้อย่างมากและขาดแคลนสูง คณะศึกษาศาสตร์ยังได้รับโอกาสให้แลกเปลี่ยนนวัตกรรมระดับสากล กับ CEO ของ Code Combat ในการนำมาใช้สร้างทักษะด้านโค้ดดิ้ง (Coding) ซึ่งรองรับผู้เรียนที่ไม่มีพื้นฐานให้สามารถพัฒนาสมรรถนะของตนเองได้ในระดับที่สูงขึ้น อาจกล่าวได้ว่าตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษา รวมถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยผู้ที่ผ่านการประเมินจากการเรียนด้วยแพลตฟอร์มนี้จะได้รับ certificate รับรองสมรรถนะที่เชื่อมโยง profile กับภาคเอกชนที่ต้องการรับเข้าไปทำงานจากทั่วโลก นอกจากนี้ยังเจรจาความร่วมมือกับกับสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย (TPA) ที่จะเน้นการพัฒนากำลังคนขั้นสูงที่รองรับอุตสากรรมเฉพาะด้าน พร้อมการสนับสนุนจาก บพค. ที่จะเป็นผู้ประสานทุกภาคส่วนให้เป็นแพลตฟอร์มกลางของประเทศที่รองรับกำลังคนด้าน AI., Robotics, และ Creative Digital รวมไปถึงมูลนิธิเอเชียที่พร้อมผลักดันและสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในการสร้างกำลังคนอุตสากรกรรมดิจิทัล ผลการจากเข้าร่วมประชุมความร่วมมือในครั้งนี้คณะศึกษาศาสตร์ จะได้นำมาสู่การจัดตั้งศูนย์ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านโค้ดดิ้งสร้างสรรค์เพื่อการศึกษาและการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน ต่อไป ซึ่งจะได้นำนวัตกรรมและแพลตฟอร์มระดับสากลเหล่านี้ลงสู่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นในทุกระดับ และขยายผลไปยังโรงเรียนเครือข่ายร่วมพัฒนาทั่วภาคอีสาน รวมไปถึงประเทศในภูมิภาคอาเซี่ยนต่อไป

ผนึกกำลัง 28สถาบัน ร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ “โสตฯ – เทคโนฯ สัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 35”

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลักสูตรนวัตกรรมเทคโนโลยีและวิทยาการเรียนรู้ (ITALS) ร่วมกับสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (ThaiAECT) จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ “โสตฯ – เทคโนฯ สัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 35” ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งจะขึ้นระหว่างวันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา โดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล มอบหมายให้ รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมฯ  ศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ กล่าวรายงานการจัดงานฯ และ ศ.ดร.ปรัชนันท์ นิลสุข นายกสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมเป็นคณาจารย์ นักวิจัย นักการศึกษา ด้านเทคโนโลยีการศึกษา จาก 28 สถาบัน กว่า 300 คน ที่ร่วมในการประชุมฯ

โดยกิจกรรมในวันแรกประกอบด้วย Workshop ด้านความรู้ทางนวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา ใน 6 หัวข้อ 1).การสร้าง Digital Classroom 2).สนุกกับการเรียนด้วย Board Game for Learning 3).สร้างผู้เรียนให้เป็น Innovative Learners ผ่าน Coding 4).สร้างการเรียนรู้แบบไร้รอยต่อด้วย Fliped Classroom 5).สร้าง Online Academy ง่ายๆ แค่ปลายนิ้วด้วย New Platform 6).นวัตกรรทจักรวาลนฤมิตร Metaverse และในวันที่ 2 การบรรยายพิเศษ โดย ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา ในหัวข้อ “เทคโนโลยีกับการสร้างกำลังคนแห่งอนาคต” การบรรยายพิเศษ โดย คุณดิศเรศ ประจิตต์มุทิตา อุปนายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย และ การบรรยายพิเศษ ศ.ดร.ปรัชนันท์ นิลสุข นายกสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา “บทบาทของวิชาชีพเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมที่ชาญฉลาด” และในวันที่ 3 กิจกรรม Innotalk จากผู้ทรงคุณวุฒิหลายกรณีศึกษา และการนำเสนอผลงานวิจัยแบบ Poster Presentation และ Oral Presentation 

งานประชุมวิชาการระดับชาติ “โสตฯ – เทคโนฯ สัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 35” โดยความร่วมมือหลักสูตรนวัตกรรมเทคโนโลยีและวิทยาการเรียนรู้ (ITALS) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (ThaiAECT) เป็นเจ้าภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชารวมถึงการการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา นำมาแชร์เพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษาและนำไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยต่อไปในอนาคต

ขอแสดงความยินดี กับ รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ในโอกาสได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “ศาสตราจารย์”

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอแสดงความยินดี กับ รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ในโอกาสได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “ศาสตราจารย์” ในสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สังกัดคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2562 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565

ศึกษาศาสตร์ มข.ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในสถาบันผลิตและพัฒนาครูลงนาม MOU ครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 4 มุ่งผลิตครูรุ่นใหม่แก้ปัญหาขาดแคลนครูในพื้นที่ห่างไกล

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและคณาจารย์ ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อลงนามความร่วมมือและพัฒนาแนวทางการทำงานระหว่างกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กับสถาบันผลิตและพัฒนาครู 9 แห่ง ในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 4 ปีการศึกษา 2566 ซึ่งหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ 

รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “โรงเรียนในถิ่นทุรกันดารที่ดูแลเด็กจำนวนไม่มาก เราต้องการครูที่มีมากกว่าองค์ความรู้ เขาต้องเป็นเหมือนพ่อแม่ของเด็ก ๆ มีความรู้ด้านโภชนาการ ส่งเสริมทักษะอาชีพและทักษะชีวิตได้ มีความเห็นอกเห็นใจ และที่สำคัญที่สุดคือต้องมีความรักความภูมิใจในท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้เขาทำงานอย่างสุดความสามารถ พร้อมทำทุกอย่างให้เด็กในพื้นที่มีโอกาสทางการศึกษามากขึ้น”

โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น เป็นความร่วมมือระหว่าง กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และสถาบันผลิตและพัฒนาครู เพื่อให้โอกาสแก่นักเรียนยากจนด้อยโอกาส ซึ่งมีศักยภาพและมีใจรักอยากเป็นครูให้ได้ศึกษาจนสำเร็จการศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำในท้องถิ่น และได้รับการบรรจุเป็นครูรุ่นใหม่ในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลและเป็นชุมชนบ้านเกิด เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนครูและการโยกย้าย โดยคาดหวังว่านักศึกษาผู้รับทุนจะได้รับการบ่มเพาะจิตวิญญาณความเป็นครู และเป็นนักพัฒนาชุมชนที่มีศักยภาพสอดคล้องกับโจทย์การทำงานในท้องถิ่น

คณะศึกษาศาสตร์ดำเนินการปรับปรุงภูมิสถาปัตย์อาคารและพัฒนาพื้นที่ ในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิด Innovation, Creativity, Safety and Smart

อาคารคณะศึกษาศาสตร์ปัจจุบันได้เปิดใช้งานตั้งแต่ปี 2538  และได้มีการปรับปรุงทางกายภาพและใช้งานเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน รวมเป็นเวลากว่า 27ปี จากการสำรวจสภาพปัญหาและการใช้งานอาคาร พบว่าสภาพสีของอาคารมีรอยด่างและสีหลุดล่อนกระจายในอากาศ ทั้งยังพบปัญหาเรื่องนกพิราบบินเข้ามาทำรังและปล่อยสิ่งปฏิกูลภายในอาคารเป็นจำนวนมาก ส่งเสียงและกลิ่นรบกวน ซึ่งอาจไม่ปลอดภัยกับบุคลากรและนักศึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมและกายภาพในเชิงระบบ

จึงได้จัดทำโครงการปรับปรุงภูมิสถาปัตย์อาคารและพัฒนาพื้นที่ ในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์  เพื่อการเรียนรู้และการทำงานให้น่าอยู่น่าเรียน พร้อมสร้างศาลาประดิษฐานพระพุทธโรจนปัญญาแห่งใหม่เพื่อหลอมรวมจิตใจและพื้นที่ทางศาสนพิธี โดยได้มีระยะเวลาในการดำเนินการ 180 วัน ซึ่งจะทำให้สภาพแวดล้อมโดยรวมได้รับการพัฒนาสอดรับกับการเตรียมพร้อมเข้าสู่ทศวรรษที่ 6 ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นต่อไป