Educational Innovation

การบริการวิชาการเพื่อสังคม

คณะศึกษาศาสตร์ตระหนักถึงการสร้างคุณค่าให้กับสังคมและพัฒนาตาม SDG4 เนื่องจากบทบาทของครูมีความสำคัญอย่างมากในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาที่มีคุณภาพและเป็นที่เข้าถึงได้สำหรับทุกคน

โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนเทศบาลโกทา เทศบาลเมืองศิลา โดยใช้โมเดลการจัดการเรียนการสอนและหลักสูตรของ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้นแบบ

ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศึกษาศาสตร์และวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นกับเทศบาลเมืองศิลา เพื่อพัฒนาและยกระดับการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลโกทา โดยใช้โมเดลการจัดการเรียนการสอนและหลักสูตรของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น เน้นการพัฒนาทั้งด้านการเรียนการสอนและนโยบายด้านการศึกษาในท้องถิ่น จากการลงนาม นี้ จะเป็นการร่วมมือและสนับสนุนกันระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศึกษาศาสตร์ และวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นกับเทศบาลเมืองศิลา เพื่อพัฒนาและยกระดับการศึกษาในพื้นที่ และนำเอาโมเดลการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมาใช้ในโรงเรียนเทศบาลโกทา เพื่อสร้างโอกาสการศึกษาที่เท่าเทียมแก่เด็กนักเรียนทุกคนในพื้นที่ การมีความร่วมมือและสนับสนุนนี้มีเป้าหมายในการสร้างโรงเรียนที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพใกล้บ้าน และเป็นโรงเรียนต้นแบบสำหรับการพัฒนาการศึกษาในระดับชุมชนและท้องถิ่นในอนาคต

โครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน (โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น)

“ค่ายครูรัก(ษ์)ถิ่น มข.” เพื่อคัดเลือกนักเรียนจากพื้นที่ห่างไกลรับทุน “โครงการทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น” จาก กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นสถาบันผลิตครูที่ได้รับคัดเลือกจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ให้เป็นหน่วยผลิตและคัดเลือกนักเรียนจากโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลโรงเรียนตามแนวชายขอบ ที่ขาดทุนทรัพย์และมีใจรักที่จะเป็นครูเข้ารับทุนการศึกษาต่อจาก กสศ. ในสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา ภายใต้ “โครงการทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น” โดยความร่วมมือของ 6 หน่วยงาน กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, คุรุสภา และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อเป็นการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เป็นครูรุ่นใหม่และกลับบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและพัฒนาพื้นที่ในโรงเรียนชุมชนบ้านเกิด

โครงการอบรมพัฒนาสมรรนะของครู ชุมชนพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในสังกัดกองกำกับตำรวจตระเวนชายแดนที่ 23

• ปี 2563-2564 เริ่มจัดโครงการอบรมพัฒนาสมรรถนะของครู เพื่อพัฒนาด้านการออกแบบการเรียนรู้ที่การบูรณาการภูมิปัญญา ท้องถิ่น การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และการผลิตสื่อการเรียนรู้ ดำเนินการดังนี้ 1) อบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างสรรค์นวัตกรรมการสอนสังคม ศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการทางสังคมศึกษา ด้วยการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับการใช้สื่อการเรียนรู้ในยุคการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ผลสัมฤทธิ์มีการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมจำนวน 92 แผน
• ปี 2565 จัดโครงการอบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและการขายสินค้าออนไลน์ เพื่อให้ชุมชนได้พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นและ สามารถจัดจำหน่ายได้ คณะฯ จึงดำเนินการร่วมกับคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มข. ผลสัมฤทธิ์ เกิดผลิตภัณฑ์ชุมชน 3 ประเภท ได้แก่ 1) อาหาร เช่น น้ำพริกเห็ดนางฟ้า ปลาเส้นแดดเดียว 2) ผลิตภัณฑ์จากผ้า เช่น ผ้าขาวม้า กระเป๋าผ้า 3) ของใช้ในครัวเรือน และเกิดช่องทาง จ าหน่ายสินค้าออนไลน์ 11 ช่องทาง (หมู่บ้านละ 1 ช่องทาง)
• ปี 2566 จัดโครงการดังนี้ 1) อบรมการตลาดออนไลน์ เพื่อเพิ่มยอดขายสินค้าให้สูงขึ้น นอกจากนี้ คณะฯ ร่วมกับคณะบริหารธุรกิจฯ ยังได้ ร่วมติดตามการขายของโรงเรียนเพื่อจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์และนำกลับไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาในการหามาตรการช่วยส่งเสริม ยอดขายจากช่องทางและเครือข่ายที่มีสร้างให้เกิดความยั่งยืน และ 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการทางสังคมศึกษาด้วยกระบวนการจัดการ เรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการผลิตสื่อสร้างสรรค์เสริมสร้างสมรรถนะพลเมืองเข้มแข็งสู่ความเป็นพลเมืองโลก ผลสัมฤทธิ์ ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับ การยกระดับจำนวน 11 ผลิตภัณฑ์

ความร่วมมือสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดขอนแก่น เพิ่มโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กกลุ่มเปราะบางและเสียโอกาส

การเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสามารถเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะและความรู้อย่างเหมาะสมตามวัย และช่วยสร้างพื้นฐานที่แข็งแรงสำหรับการเรียนรู้ต่อไปในชีวิตจริง นอกจากการให้การศึกษาพื้นฐานแล้ว การพัฒนาแนวทางในการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กในสถานพินิจเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน การสร้างโปรแกรมการเรียนรู้ที่เน้นไปที่การพัฒนาทักษะที่สำคัญเช่นการสื่อสาร การวิเคราะห์ และการแก้ไขปัญหาสามารถช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตนเองและสร้างความเชื่อมั่นในการเรียนรู้ของเด็กได้ การสนับสนุนและร่วมมือเพื่อพัฒนาเด็กในสถานพินิจไม่เพียงแค่ช่วยให้พวกเขาได้รับการศึกษาที่เหมาะสม แต่ยังเป็นการสร้างพื้นที่และโอกาสให้พวกเขาสามารถเติบโตและพัฒนาตนเองในสิ่งที่น่าเป็นอย่างยิ่ง ทำให้พวกเขามีโอกาสเข้าสู่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต และมีความมั่นใจในการเรียนรู้และสร้างชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป