มข.หนุนการเรียนรู้ชุมชน มอบบอร์ดเกมนวัตกรรมแก่ห้องสมุดเทพารักษ์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น สานสัมพันธ์ชุมชน จัดกิจกรรมโครงการมหาวิทยาลัยขอนแก่นส่งเสริมชุมชนน่าอยู่ ลงพื้นที่ชุมชนเทพารักษ์ 1 อ.เมือง จ.ขอนแก่น เพื่อมอบสื่อการเรียนรู้นวัตกรรมบอร์ดเกมแก่ห้องสมุดชุมชนเทพารักษ์ นำโดย รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและสื่อสารองค์กร อ.ณัฐสมล ธนกุลรังสฤษดิ์ พร้อมด้วย รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์  นายชุมพร พารา ผู้อำนวยการกองสื่อสารองค์กร และบุคลากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2567 ท่ามกลางการต้อนรับจากชาวชุมชนฯ อย่างอบอุ่น

อ.ณัฐสมล ธนกุลรังสฤษดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและสื่อสารองค์กร กล่าวว่า “การมอบบอร์ดเกม ให้ห้องสมุดชุมชนเทพารักษ์ 1 ในวันนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ มข.ส่งเสริมชุมชนน่าอยู่ เพื่อสนับสนุน การเรียนรู้ของเยาวชนในชุมชน บอร์ดเกมที่พัฒนาโดยคณะศึกษาศาสตร์นี้จะช่วยเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการทำงานร่วมกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเยาวชนในระยะยาว”  ที่สำคัญเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและสนับสนุนชุมชน ผ่านการให้การศึกษาแก่เยาวชน ช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่จำเป็นในการพัฒนาชีวิต และส่งผลเชิงบวกต่อชุมชนโดยรวม มุ่งเน้นความเท่าเทียมในการเข้าถึงการศึกษา ผ่านการส่งเสริมห้องสมุดชุมชน ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนเยาวชนให้เข้าถึงสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยและสร้างสรรค์

ด้าน รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ กล่าวถึงนวัตกรรมบอร์ดเกม ว่า  “คณะศึกษาศาสตร์มอบนวัตกรรมบอร์ดเกม 3 ชนิด ได้แก่ เกม AR Smart Froggy ส่งเสริมทักษะ CodingSmart coding Creative Kit ส่งเสริมทักษะ Coding และ Creative และ นวัตกรรมบอร์ดเกม Match Math ที่ส่งเสริมทักษะการคำนวณ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของคณะฯ ที่พัฒนาขึ้นให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล เป็นสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นนวัตกรรม เป็นการช่วยเสริมกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน เหมาะสำหรับผู้เล่นทุกวัยตั้งแต่ 4 ขวบขึ้นไป และยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกในครอบครัวและชุมชน”

ส่วน นายพิชิต ลำพอง ประธานชุมชนเทพารักษ์ 1 กล่าวว่า “ขอบคุณมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ใส่ใจ ดูแลลูกหลานในชุมชนของเรา สื่อการเรียนรู้นี้จะช่วยพัฒนาเด็กๆ และยังเป็นกิจกรรมที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนต่างวัยในชุมชน แม้ชุมชนเทพารักษ์ 1 จะเป็นชุมชนเล็ก แต่มีเด็กและเยาวชนที่มีคุณภาพ หลายคนได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นด้วย”

ภายหลังพิธีมอบสื่อการเรียนรู้ ผู้บริหารได้เยี่ยมชมห้องสมุดชุมชนเทพารักษ์ พร้อมทั้งทีมวิทยากรจากคณะศึกษาศาสตร์ ได้สาธิตวิธีการเล่นบอร์ดเกมให้แก่สมาชิกชุมชน เพื่อนำไปถ่ายทอดต่อให้แก่สมาชิกคนอื่นๆ โครงการนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของชุมชนอย่างสร้างสรรค์

more insights

ศึกษาศาสตร์ มข. จัดอบรมต่อเนื่อง ‘AI-Exploring Educator’ นำร่องขับเคลื่อน ‘KKUED AI Competency’ ติดอาวุธครูสาธิตฯ ระดับประถม สู่ยุคดิจิทัล

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เดินหน้าวิสัยทัศน์ด้านนวัตกรรมการศึกษา ผ่านการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “AI-Exploring Educator” ซึ่งถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการขับเคลื่อนกรอบสมรรถนะที่คณะฯ พัฒนาขึ้นเองอย่าง “KKUED AI Competency” เพื่อสร้างครูแห่งอนาคตที่ไม่ได้เป็นเพียงผู้ใช้เทคโนโลยี แต่คือ ‘ผู้ออกแบบการเรียนรู้’ อย่างแท้จริง รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ กล่าวถึงหลักการสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนครั้งนี้ว่า “เราเชื่อมั่นว่า

Read more >

ศึกษาศาสตร์ มข. จัดอบรม Thailand PSF รุ่นที่ 2 สู่สมรรถนะอาจารย์มืออาชีพ

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “เพื่อพัฒนาอาจารย์ในสถานอุดมศึกษา Thailand-PSF” รุ่นที่ 2 มุ่งเตรียมความพร้อมให้คณาจารย์เข้าสู่สมรรถนะอาจารย์มืออาชีพตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพของประเทศไทย (Thailand Professional Standards Framework) กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.จารุณี ซามาตย์ รองคณบดีฝ่ายการศึกษา เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรม พร้อมได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิอย่าง รศ.ดร.โอภาส เกาไศยาภรณ์

Read more >

โครงการ “ครูรักษ์ถิ่น” ศึกษาศาสตร์ มข. คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 แนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ตอกย้ำพันธกิจสร้างครูคุณภาพสู่ชุมชน

1 กรกฎาคม 2567 | ห้องประชุมสารสิน อาคารสิริคุณากร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น – คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย “โครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน ปีการศึกษา 2567 (โครงการครูรักษ์ถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น)” สามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ประเภทแนวปฏิบัติที่ดี

Read more >
Scroll to Top