นักวิจัย มข.คว้ารางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานวิจัย สาขาการศึกษา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

คณาจารย์นักวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมรับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2563 ภายในงานวันนักประดิษฐ์  ซึ่งจัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ ณ Event Hall 102-104 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร

ผลงานวิจัยโดย รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร (ผู้แทนรับรางวัล) รศ.ดร.จารุณี ซามาตย์ รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ อาจารย์ ดร.ปารย์พิชชา ก้านจักร อาจารย์ประจำสาขาบริหารการศึกษา และ นายแพทย์วรานนท์ มั่นคง คณะแพทยศาสตร์ เรื่อง การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เกมดิจิทัลแบบบูรณาการโดยใช้โมเดลและสมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน ”  (The Development of Digital Game-Based Learning Media Integrated Model – Based and Brain – Based Learning to Enhance Student Problem Solving)”  คว้ารางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานวิจัย ประจำปี 2563 ระดับดี สาขาการศึกษา 

รางวัลการวิจัยแห่งชาติ เป็นรางวัลที่มีขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรตินักวิจัยไทยที่มีผลงานโดดเด่น สร้างคุณูปการให้กับวงวิชาการและประเทศชาติ รวมทั้งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการสร้างแรงจูงใจของนักประดิษฐ์ และนักวิจัย ที่จะพัฒนานวัตกรรมทางความคิด และภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ สร้างความก้าวหน้าในศาสตร์แขนงต่าง ๆ รวมถึงนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

มข.ผนึก ประเทศรัสเซีย จัด Math Festival ครั้งที่ 2 สร้างแรงบัลดาลใจการเรียนคณิตศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับประเทศรัสเซีย จัดกิจกรรม“Mathematics Festival ครั้งที่ 2” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง

สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และศูนย์วิจัยคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับประเทศรัสเซีย  จัดกิจกรรม “Mathematics Festival ครั้งที่ 2” นำโดย ผศ.ดร.นฤมล ช่างศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมด้วย รศ.ดร.ประพันธ์ศักดิ์ ฉวีราช ผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้กล่าวต้อนรับ โดยมี รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น   เมื่อวันเสาร์ ที่ 19 ธันวาคม 2563  ที่ผ่านมา ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภายในงานมีคณาจารย์  นักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 300 คน แบ่งเป็น นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 127 คน นักศึกษาระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้จัดกิจกรรมจำนวน 142 คน และแขกผู้มีเกียรติ ผู้บริหารและคณาจารย์จำนวน 31 คน  โดยกิจกรรม “Mathematics Festival ครั้งที่ 2” ได้รับการสนับสนุนจากประเทศรัสเซีย Moscow Center for Continuous Mathematical Education, Higher School of Economics Math Department นำโดย Assoc. Prof.Ivan Vysotskiy พร้อมทั้งงบสนับสนุนจากสถานทูตรัสเซีย โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในรูปแบบของ Mathematics Festival ที่จัด ณ กรุงมอสโคว ประเทศรัสเซีย เป็นประจำอย่างต่อเนื่องมากว่า 40 ปีอีกทั้งเพื่อพัฒนาทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับอนาคต และพัฒนาค่านิยมหลัก (Core Value) สำหรับนักศึกษาครูคณิตศาสตร์

รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า  กิจกรรม Mathematics Festival ครั้งที่ 2 ซึ่งกิจกรรมนี้ทำให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและประเทศรัสเซีย โดยมีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับศูนย์วิจัยคณิตศาสตร์ศึกษาและสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน เป็นผู้ดำเนินการ ทำให้ตระหนักถึงความร่วมมืออย่างต่อเนื่องของมหาวิทยาลัยขอนแก่นและ Centerfor Continuous Mathematical Education Higher School of Economics Math Department ประเทศรัสเซีย ที่มีมากกว่า 10 ปี ผ่านโครงการ APEC – Lesson Study Project อีกทั้งกิจกรรมนี้ยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายในครั้งนี้ ในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง สอดคล้องและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น KKU Next Project ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายระดับมัธยมศึกษาเพื่อให้ข้อมูลและแนวทางในการเตรียมศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย และการศึกษาตลอดชีวิต”

บรรยากาศภายในงานเต็มไปด้วยความอบอุ่นและความสนุกสนานโดยมีกิจกรรมหลากหลายให้น้อง ๆ นักเรียนได้เข้าร่วม อาทิ กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมเกมคณิตศาสตร์ การสอบแข่งขัน Mathematics Olympiad และนอกจากนี้ยังมีการมอบของรางวัลและเกียรติบัตรให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมอีกด้วย

ข่าว :  จิราพร ประทุมชัย , เสกสรร นาหัวนิล นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ กองสื่อสารองค์กร
ภาพ : ศูนย์วิจัยคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

12 พ.ย.63 โรงเรียนสาธิต ม.ขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) คว้ารางวัล Science Show ระดับประเทศ

วันพฤหัสบดี ที่ 12 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2563 เวลา 08.00-08.30 น. : โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) แสดงความยินดีกับทีม Science Show ทั้ง 2 ทีม ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับประเทศ ในการประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) เนื่องในกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2563 ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) จังหวัดกรุงเทพมหานคร และ ในวันที่ 20 สิงหาคม 2563 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามลำดับ

วันพุธ ที่ 11 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.00-16.00 น. : ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) จัดการประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) ระดับประเทศ ช่วงชั้นประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษาตอนต้น เนื่องในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2563 ในรูปแบบ New Normal (ออนไลน์) ซึ่งทีม Science Show (ทีม 2) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ ผลการประกวด ทีม Science Show โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) “ชนะเลิศ” การแข่งขันการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) ระดับประเทศ ในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากทั้งหมด 6 ทีมที่เป็นตัวแทนแต่ละภาค ++++++++++++++++++++++++ นักเรียนที่เข้าร่วมการประกวด : 1) ด.ญ.กันยากร นามบุญเรือง นักเรียนชั้น ม.2/5, 2) ด.ญ.กานต์กมล โชติการณ์ นักเรียนชั้น ม.3/1 และ 3) ด.ญ.ปานชนก จงศิริ นักเรียนชั้น ม.3/1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ++++++++++++++++++++++++ อาจารย์ที่ปรึกษา / เขียนบท / ฝึกซ้อมและกำกับการแสดง / ตัดต่อ / ซาวด์และสื่อประกอบ : 1) อ.พิชา ชัยจันดี และ 2) อ.สมโชค แก้วอุทัศน์ ++++++++++++++++++++++++ ออกแบบโลโก้การแข่งขัน : อ.พงศ์พิทักษ์ รัตนภักดี ++++++++++++++++++++++++ จัดทำอุปกรณ์และสถานที่ : 1) อ.พงศ์ภวัน ขาวกุญชร 2) คุณธนวรรธน์ แสงสุริยา 3) คุณศุภรักษ์ กันพิพิธ 4) คุณวิชัย พุทธสอน 5) คุณเรียงมน อนุศรี และ 6) คุณเกษม มีแก้ว ++++++++++++++++++++++++ จัดอุปกรณ์การแสดง : 1) นายณัฐดนัย โมขุนทด, 2) นายอาณัติ กลางประพันธ์, 3) นางสาวศรัญยา มารัตน์ และ 4) นายวุฒิเดช ตันเจริญ นักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ++++++++++++++++++++++++ สนับสนุนการแสดงทางวิทยาศาสตร์ : 1) คณะผู้บริหารโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) 2) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) 3) คณาจารย์ และบุคลากรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) 4) ผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็นฝ่ายนักแสดง Science Show 5) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น ++++++++++++++++++++++++ นักเรียนจิตสาธารณะช่วยเหลืองาน ได้แก่ น.ส.พิชาจรัส ศรีประจันต์ นักเรียนชั้น ม.6/2 และ 2) ด.ญ.อลิชา พรจันทรากุล นักเรียนชั้น ม.2/6

วันพฤหัสบดี ที่ 20 สิงหาคม 2563 เวลา 07.00-18.30 น. : ทีม Science Show (ทีม 1) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ในนามตัวแทนศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาขอนแก่น นำนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับประเทศ เนื่องในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2563 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลการประกวดได้รับรางวัล “รองชนะเลิศอันดับ 2” ระดับประเทศ ++++++++++++++++++++++++ นักเรียนที่เข้าร่วมการประกวด : 1) ด.ญ.หทัยชนก นพเก้า นักเรียนชั้น ม.2/3 , 2) ด.ญ.อลิชา พรจันทรากุล นักเรียนชั้น ม.2/6 และ 3) ด.ญ.ธมลวรรณ แคนหมั้น นักเรียนชั้น ม.3/3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ++++++++++++++++++++++++ อาจารย์ที่ปรึกษา / เขียนบท / ฝึกซ้อมและกำกับการแสดง / ซาวด์และสื่อประกอบ : 1) อ.พิชา ชัยจันดี และ 2) อ.สมโชค แก้วอุทัศน์ ++++++++++++++++++++++++ ออกแบบเสื้อการแข่งขัน : อ.พงศ์พิทักษ์ รัตนภักดี ++++++++++++++++++++++++ ประดิษฐ์อุปกรณ์ : 1) นายณัฐดนัย โมขุนทด 2) นางสาวฟ้าชนก เบ็ญเจิด 3) นายอาณัติ กลางประพันธ์ 4) นายกุลชาต กระจ่างกุล 5) นายนครินทร์ สิงห์สัตย์ 6) นางสาวขวัญจิรา ธิศาเวช 7) นางสาวศรัญยา มารัตน์ 8) นางสาววนิดา เจริญ 9) นายพิเชฐ พรศิลปกุล 10) นายวุฒิเดช ตันเจริญ 11) นายณัฐพงศ์ คุณารักษ์ 12) นางสาวน้ำทิพย์ นุธรรม 13) นางสาวณิชกานต์ สนอุป 14) นางสาวสุธิณี สุขสนิท และ 15) นางสาววิลาณี อำนาจเจริญ นักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ++++++++++++++++++++++++ สนับสนุนการแสดงทางวิทยาศาสตร์ : 1) คณะผู้บริหารโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) 2) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) 3) คณาจารย์ และบุคลากรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) 4) ผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็นฝ่ายนักแสดง Science Show 5) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาขอนแก่น อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ++++++++++++++++++++++++ นักเรียนจิตสาธารณะช่วยเหลืองาน : 1) ด.ช.ปฏิภาณ ลอยข้ามป้อม นักเรียน ม.3/1, 2) นางสาวพชรพร เผือกนอก นักเรียนชั้น ม.4/6 และ 3) นางสาวพิชาจรัส ศรีประจันต์ นักเรียนชั้น ม.6/2

The International Conference on Educational Research (ICER) 2020

Please be invite! We’re pleased to welcome the academic researchers from all over the world today to submit your papers in The 13th International Conference on Educational Research (ICER2020) “Building Learning Revolution for School Improvement in Digital Era” We are also proud to bring you an opportunity to meet with some of special keynote speaker. Let’s share experience together.

The International Conference on Educational Research (ICER) 2020 “Building Learning Revolution for School Improvement in Digital Era” is the 13th International Conference on Educational Research (ICER2020) Annual Conference organized by Faculty of Education, Khon Kaen University, Thailand.

On behalf of Faculty of Education, Khon Kaen University, we would like to invite the academic research community to join the ICER2020. ICER2020 is a forum that provides opportunities for researchers, educators, and practitioners from various fields to share their research, experience, knowledge, and techniques used in order to educate our next generations.

For more information, please visit: HTTPS://SITES.GOOGLE.COM/VIEW/KKUICER2020

มข.จับมือ จังหวัดขอนแก่น ภาคีสาธารณสุข สร้างหลักสูตร เยาวชน ตัดวงจร พยาธิใบไม้ตับมะเร็งท่อน้ำดี บ้านแฮด บ้านไผ่ ต้นแบบอำเภอนำร่อง

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2563  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  จัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง สถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี และ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอบ้านแฮด คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอบ้านไผ่ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น  ในการพัฒนาและขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในอำเภอบ้านแฮดและอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น โดยมี นายวรทัศน์  ธุลีจันทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธาน ศาสตราจารย์ ดร.มนชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะผู้บริหารตัวแทนหน่วยงาน ร่วมลงนามเป็นสักขีพยาน  ณ ห้องประชุมสารสิน ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร

การลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อ พัฒนาและขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในอำเภอบ้านแฮดและอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ให้เกิดการนำหลักสูตรเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในเขตภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปใช้ในโรงเรียน และ เป็นการสร้างเครือข่ายและพัฒนาความร่วมมือการแก้ปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในมิติการสร้างความรอบรู้โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในเด็ก เยาวชน  และ ระดับองค์กร

นายวรทัศน์  ธุลีจันทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า จังหวัดขอนแก่นกำหนดให้อำเภอบ้านแฮดและอำเภอบ้านไผ่ เป็นพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาระบบป้องกัน ควบคุม และแก้ปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีตามห่วงโซ่คุณค่า อย่างบูรณาการ โดยให้ขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และมีการแต่งตั้งคณะทำงานพื่อแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในพื้นที่เสี่ยง จังหวัดขอนแก่น โดยมีหน้าที่ส่งสริมการเรียนรู้ ความเข้าใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและค่านิยมในการบริโภคอาหารปรุงสุกจากปลาน้ำจืดมีเกล็ด ให้แก่เด็กและเยาวชนทุกวัยในสถานศึกษาทุกแห่ง

“การสร้างความรอบรู้โรคพยาธิใบไม้และมะเร็งท่อน้ำดีในเด็กและยาวชน เป็นประเด็นสำคัญประการหนึ่งในการแก้ปัญหาที่จะตัดวงจรการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ได้ตั้งแต่ต้นทางจากโครงการนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกับศูนย์ประสานงานคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 7 ได้ขับเคลื่อน 6 ประเด็น หลักคือ 1. สร้างการรับรู้และความตระหนักในโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี 2. สร้างความรอบรู้โรคพยาริบไม้ตับและมะเร็งทำอน้ำดีในเด็กและเยาวชน 3. อาหารปลอดภัย : ปลาปลอดพยาธิใบไม้ตับ 4. สัตว์รังโรคปลอดพยาธิใบไม้ตับ 5. การตรวจคัดกรองและการรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี และ พัฒนาระบบการจัดการสิ่งปฏิกูลอย่างยั่งยืน”

ศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า   มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติและผู้นำของสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ทั้งในประเทศไทยและประเทศอนุมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง การดำเนินงานครั้งนี้เป็นความร่วมมือกับทุกหน่วยงานในการพัฒนาและขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในอำเภอบ้านแฮด และอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น ยินดีสนับสนุนในการจัดอบรมบุคลากรทางการศึกษาเรื่องการนำหลักสูตร     เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในเขตภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน

โดยมีการดำเนินงานร่วมกันดังนี้ 1.พัฒนาหลักสูตรโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีสำหรับสถานศึกษาในเขตจังหวัดขอนแก่น 2. พัฒนากระบวนการนำหลักสูตรโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาในเขตจังหวัดขอนแก่น 3. ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีสำหรับสถานศึกษาในเขตจังหวัด ขอนแก่น 4. ศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการนำหลักสูตรโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาในเขตจังหวัดขอนแก่น 5. พัฒนาเทคโนโลยีฐาน และเครื่องมือดิจิทัล สนับสนุนงานการพัฒนาเนื้อหาและสารสนเทศเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี นับสนุนโอกาสให้นักศึกษาวิชาชีพครูได้ร่วมงานการพัฒนาความตระหนักรู้และการสร้างเครือย่ายในการสร้างภูมิคุ้มกันเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีสำหรับเด็ก เยาวชน และบุคคลทั่วไป 7. พัฒนาและแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญร่วมกัน ในการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย

โดยหลังจากการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการนี้ จะมีการจัดอบรมการนำหลักสูตรเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในเขตภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน ในอำเภอบ้านแฮดและอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น สำหรับโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จำนวน 81 โรงเรียน โดยมีครูเข้าอบรมประมาณ 200 คน เพื่อสร้างความตระหนักของปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีแก่บุคลากรทางการศึกษา ถ่ายทอดแนวทางการนำหลักสูตรโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีไปใช้ในโรงเรียน และสร้างเครือข่ายและพัฒนาความร่วมมือการแก้ปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในมิติการ สร้างความรอบรู้โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในเด็กและเยาวชนทั้งในระดับองค์กรและระดับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งในอนาคตจะขยายการดำเนินงานไปยังโรงเรียนเอกชนและสังกัดหน่วยงานอื่น ๆ ให้ครบ 100% รวมถึงขยายการนำหลักสูตรฯ ไปใช้ในโรงเรียนไปยังอำเภออื่นในจังหวัดขอนแก่นที่มีความพร้อมและมีอัตราความชุกโรคพยาธิใบไม้ตับสูง

คณะศึกษาศาสตร์ขอแสดงความยินกับ รศ.ดร.จารุณี ซามาตย์ รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ ที่ได้รับทุนวิจัยจากกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทุนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

คณะศึกษาศาสตร์ขอแสดงความยินกับ รศ.ดร.จารุณี ซามาตย์ รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ ที่ได้รับทุนวิจัยจากกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทุนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (รอบที่ 2) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โครงการวิจัยดังกล่าว คือ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีแบบปรับเหมาะสำหรับการทดสอบสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและทักษะการรู้ดิจิทัลของครูและผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งเป็น 1 ใน 9 โครงการที่ได้รับการอนุมัติในครั้งนี้ ถือเป็นอีกโครงการวิจัยที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ของคณะที่เน้นนวัตกรรมการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศ

ศึกษาศาสตร์เตรียมนวัตกรรม Virtual Classroom แพลตฟอร์มสำหรับการเรียนการสอนดิจิทัลมุ่งตอบโจทย์การเรียนการสอนวิถีใหม่

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “Teaching and Learning in New Normal for Education” การใช้งาน “EduLearn” ระบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ LMS (Learning Management Solution) ระหว่างวันที่ 19 และ 21 พฤษภาคม 2563 ณ ห้อง ED-TEAL ชั้น 4 คณะศึกษาศาสตร์ โดยมี รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ กล่าวเปิดการอบรม และ รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร และ ทีมวิจัย เป็นวิทยากร

รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ กล่าวว่า “ระบบ EduLearn เป็นระบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ที่พัฒนาโดยทีมนักวิจัยของคณะศึกษาศาสตร์ โดยมี รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร เป็นหัวหน้าทีมวิจัย ซึ่งคณะศึกษาศาสตร์ได้นำระบบนี้มาเตรียมความพร้อมเพื่อรับกับสถานการณ์โควิด-19 ที่คาดการณ์ไม่ได้ในปัจจุบัน ถือเป็นระบบที่ผนวกแผนการสอน สถานการณ์ปัญหา รวมถึงสื่อหรือแหล่งข้อมูลให้ใช้งานแบบออนไลน์และง่ายต่อคณาจารย์ผู้สอน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การแก้ไขปัญหา และยังสามารถสร้างกลุ่มการเรียนรู้แบบย่อยในชั้นเรียนได้อีกด้วย ถึงแม้ว่าในอานาคตสถานการณ์โควิด – 19 จะคลี่คลายแล้ว ก็ยังนำระบบไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนแบบปกติให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนนอกชั้นเรียน”

“EduLearn” ระบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ที่พัฒนาโดยทีมวิจัยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร เป็นหัวหน้าทีมวิจัย เป็นแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยและนักวิจัย นับว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษาที่ตอบสนองการเรียนรู้ออนไลน์ที่ออกแบบมาให้ง่ายต่อการใช้งานทั้งผู้สอนและผู้เรียน รองรับระดับของผู้เรียนตั้งแต่ระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษา โดยรองรับสือการเรียนการสอนทั้งภาพ วิดีโอ หรือสื่อออนไลน์แบบดิจิทัลอื่นๆ และยังรองรับระบบการสื่อสารออนไลน์ มุ่งเน้นการสร้าง Virtual Classroom ที่สนับสนุนให้เกิดประโยชน์แก่ผู้สอนและผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยเริ่มใช้นวัตกรรมนี้ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นทุกระดับตั้งแต่อนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษา โดยการระดมคณาจารย์ทั้งในระดับคณะและโรงเรียน มาร่วมกันพัฒนาบทเรียนที่ประกอบด้วยเนื้อหาสาระ วิธีการสอนและเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ของแต่ละรายวิชา ซึ่งในอนาคต EduLearn จะกลายเป็นธนาคารชุดวิชาที่ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่อนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาทุกสาระและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่จะเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ

Teaching and Learning in New Normal for Ecuation

เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยฝ่ายการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ จัดอบรมให้แก่คณาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ ในหัวข้อ “Teaching and Learning in New Normal for Ecuation” โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรม โดยการอบรมในครั้งนี้เป็นการอบรมการใช้งานเครื่องมือ Microsoft Team ร่วมถึงเทคนิค วิธีการ และแนวทางการออกแบบการเรียนการสอนในยุคใหม่ เพื่อสร้างโมเดลของการเรียนการสอนออนไลน์ในแต่ละรายวิชา โดยมี รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร เป็นวิทยากร พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายเป็นคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น

Workshop อบรม การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 คณะศึกษาศาสตร์ โดยฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมการศึกษาสร้างสรรค์ จัด Workshop อบรม การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา “ลิขสิทธิ์ : ตำรา หนังสือ โปรแกรมคอมพิวแตอร์ งานจิตรกรรม ดนตรีกรรม ฯลฯ และ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์” โดยมี รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ เป็นประธานในการเปิดการอบรม และมี คุณจิราภรณ์ เหลืองไพรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นวิทยากร โดยการอบรมในครั้งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงรุก เพื่อให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษามีผลงานที่ขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มขึ้น ให้เป็นที่ยอมรับทางวิชาการให้เกิดการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา

คุณจิราภรณ์ เหลืองไพรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและคณะทำงาน เข้าเยี่ยมชมการสร้างสรรค์นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ และผลิตภัณฑ์ของนักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ.2563 เวลา 14.00-16.00 น. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง)
ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คุณจิราภรณ์ เหลืองไพรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและคณะทำงาน เข้าเยี่ยมชมการสร้างสรรค์นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ และผลิตภัณฑ์ของนักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง)

โดยมี รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ รักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นและคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ คณะผู้บริหารโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้การต้อนรับและนำชมสิ่งประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ ดังนี้
1. รถตัดหญ้าและพ่นยาที่ควบคุมระบบด้วยรีโมทคอนโทรล (Prototype#1)
2. ตู้พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อแบบหัวพ่นหมอกระบบเซ็นเซอร์อัตโนมัติ (Prototype#2)
3. เครื่องตัดโฟมด้วยระบบดิจิทัล
4. ผลิตภัณฑ์เซรามิค
จากการเยี่ยมชมครังนี้ ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ ได้กล่าวชื่นชมนักเรียน อาจารย์ที่ปรึกษา คณาจารย์และผู้บริหาร ที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมจากการเรียนการสอนและงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ หล่อหลอมนักเรียนต้นแบบให้มีอัตลักษณ์และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม