19 เมษายน 2567 – คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สะท้อนปัญหาการทำงานสายสนับสนุน จากที่ฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร ได้ดำเนินการเพื่อสร้างองค์ความรู้จากการทำงาน ซึ่งทำให้ได้ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice : COP) โดยการรวมกลุ่ม CoP ที่ผ่านมาได้จากการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนในกลุ่มแต่ละตำแหน่ง เพื่อช่วยแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์งาน เพื่อนำมาสู่การขอความก้าวหน้าในตำแหน่ง ทำให้ได้กลุ่ม CoP จำนวน 5 กลุ่ม คือ CoP1 กลุ่มระดับปฏิบัติการขึ้นชำนาญการ CoP2 กลุ่มระดับชำนาญการขึ้นชำนาญการพิเศษ CoP3 กลุ่มระดับปฏิบัติงานขึ้นชำนาญงาน CoP4 กลุ่มลูกจ้างประจำ และ CoP5 สายสนับสนุนของโรงเรียนสาธิตฯ นอกจากนี้ภายใต้การดำเนินการกลุ่ม CoP ทำให้ได้งานวิจัยเพื่อยื่นขอ R2R
ฝ่ายยุทธศาสตร์ฯ จึงได้ดำเนินการขยายการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อสะท้อนปัญหาการทำงานของสายสนับสนุน ที่การแก้ปัญหาจำเป็นต้องอาศัยการแก้ปัญหาร่วมกันจากหลายฝ่าย/หลายงาน โดยมี ผศ.ดร.ประกฤติยา ทักษิโณ
รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้ได้ CoP เพิ่มขึ้นอีก 4 CoP รวมเป็นเพื่อแก้ปัญหาดังนี้
CoP6 การสื่อสาร และประสานงานระหว่างอาจารย์และสายสนับสนุน ประกอบด้วย งานบุคคล งานพัฒนานักศึกษา งานวิชาการ งานบริการวิชาการ
CoP7 การรวบรวมข้อมูลเพื่อการจัดทำสารสนเทศ ประกอบด้วย งานบุคคล งานพัฒนานักศึกษา งานวิชาการ งานบริการวิชาการ
CoP8 การเบิกจ่ายตามแผนทั้งแผนปฏิบัติการ แผนครุภัณฑ์ ประกอบด้วย งานแผน งานการเงิน และงานในแต่ละฝ่ายที่รับผิดชอบตามกิจกรรม
CoP8 การจัดสรรภาระงานสอน และการจัดตารางเรียน ประกอบด้วย งานวิชาการ งานบุคคลงานแผน งานการเงิน
โดยกิจกรรมนี้จะขยายผลเพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อยกระดับองค์กรให้มีส่วนร่วมของบุคลากรจากทุกสายงานร่วมกันคิดแก้ไขปัญหาพัฒนางานและนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สะท้อนปัญหาการทำงานมุ่งเป้าสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม
347