กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สะท้อนปัญหาการทำงานมุ่งเป้าสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม

19 เมษายน 2567 – คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สะท้อนปัญหาการทำงานสายสนับสนุน จากที่ฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร ได้ดำเนินการเพื่อสร้างองค์ความรู้จากการทำงาน ซึ่งทำให้ได้ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice : COP) โดยการรวมกลุ่ม CoP ที่ผ่านมาได้จากการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนในกลุ่มแต่ละตำแหน่ง เพื่อช่วยแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์งาน เพื่อนำมาสู่การขอความก้าวหน้าในตำแหน่ง ทำให้ได้กลุ่ม CoP จำนวน 5 กลุ่ม คือ CoP1 กลุ่มระดับปฏิบัติการขึ้นชำนาญการ CoP2 กลุ่มระดับชำนาญการขึ้นชำนาญการพิเศษ CoP3 กลุ่มระดับปฏิบัติงานขึ้นชำนาญงาน CoP4 กลุ่มลูกจ้างประจำ และ CoP5 สายสนับสนุนของโรงเรียนสาธิตฯ นอกจากนี้ภายใต้การดำเนินการกลุ่ม CoP ทำให้ได้งานวิจัยเพื่อยื่นขอ R2R
ฝ่ายยุทธศาสตร์ฯ จึงได้ดำเนินการขยายการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อสะท้อนปัญหาการทำงานของสายสนับสนุน ที่การแก้ปัญหาจำเป็นต้องอาศัยการแก้ปัญหาร่วมกันจากหลายฝ่าย/หลายงาน โดยมี ผศ.ดร.ประกฤติยา ทักษิโณ
รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้ได้ CoP เพิ่มขึ้นอีก 4 CoP รวมเป็นเพื่อแก้ปัญหาดังนี้
CoP6 การสื่อสาร และประสานงานระหว่างอาจารย์และสายสนับสนุน ประกอบด้วย งานบุคคล งานพัฒนานักศึกษา งานวิชาการ งานบริการวิชาการ
CoP7 การรวบรวมข้อมูลเพื่อการจัดทำสารสนเทศ ประกอบด้วย งานบุคคล งานพัฒนานักศึกษา งานวิชาการ งานบริการวิชาการ
CoP8 การเบิกจ่ายตามแผนทั้งแผนปฏิบัติการ แผนครุภัณฑ์ ประกอบด้วย งานแผน งานการเงิน และงานในแต่ละฝ่ายที่รับผิดชอบตามกิจกรรม
CoP8 การจัดสรรภาระงานสอน และการจัดตารางเรียน ประกอบด้วย งานวิชาการ งานบุคคลงานแผน งานการเงิน
โดยกิจกรรมนี้จะขยายผลเพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อยกระดับองค์กรให้มีส่วนร่วมของบุคลากรจากทุกสายงานร่วมกันคิดแก้ไขปัญหาพัฒนางานและนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม

more insights

ศึกษาศาสตร์ มข. จัดอบรมต่อเนื่อง ‘AI-Exploring Educator’ นำร่องขับเคลื่อน ‘KKUED AI Competency’ ติดอาวุธครูสาธิตฯ ระดับประถม สู่ยุคดิจิทัล

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เดินหน้าวิสัยทัศน์ด้านนวัตกรรมการศึกษา ผ่านการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “AI-Exploring Educator” ซึ่งถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการขับเคลื่อนกรอบสมรรถนะที่คณะฯ พัฒนาขึ้นเองอย่าง “KKUED AI Competency” เพื่อสร้างครูแห่งอนาคตที่ไม่ได้เป็นเพียงผู้ใช้เทคโนโลยี แต่คือ ‘ผู้ออกแบบการเรียนรู้’ อย่างแท้จริง รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ กล่าวถึงหลักการสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนครั้งนี้ว่า “เราเชื่อมั่นว่า

Read more >

ศึกษาศาสตร์ มข. จัดอบรม Thailand PSF รุ่นที่ 2 สู่สมรรถนะอาจารย์มืออาชีพ

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “เพื่อพัฒนาอาจารย์ในสถานอุดมศึกษา Thailand-PSF” รุ่นที่ 2 มุ่งเตรียมความพร้อมให้คณาจารย์เข้าสู่สมรรถนะอาจารย์มืออาชีพตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพของประเทศไทย (Thailand Professional Standards Framework) กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.จารุณี ซามาตย์ รองคณบดีฝ่ายการศึกษา เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรม พร้อมได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิอย่าง รศ.ดร.โอภาส เกาไศยาภรณ์

Read more >

โครงการ “ครูรักษ์ถิ่น” ศึกษาศาสตร์ มข. คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 แนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ตอกย้ำพันธกิจสร้างครูคุณภาพสู่ชุมชน

1 กรกฎาคม 2567 | ห้องประชุมสารสิน อาคารสิริคุณากร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น – คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย “โครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน ปีการศึกษา 2567 (โครงการครูรักษ์ถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น)” สามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ประเภทแนวปฏิบัติที่ดี

Read more >
Scroll to Top