เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 คณะศึกษาศาสตร์จัดกิจกรรม KickOff แผนยุทธศาสตร์ปีงบประมาณ 2565 ตอบสนองความท้าทายที่สำคัญของการศึกษาหลังโควิด19 “The NEXT Normal Education” พร้อมทั้งถ่ายทอดผลลัพธ์ที่สำคัญ (OKRs) ลงสู่หน่วยงานภายในและบุคคลากรรายบุคคล โดย รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ฉายภาพวิสัยทัศน์และเป้าหมายของคณะศึกษาศาสตร์ที่จะเป็นคณะชั้นนำ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มุ่งเน้นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สามารถยกระดับการศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพ
รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยว่า ในปีงบประมาณ 2565 นี้จะมีการปรับยุทธศาสตร์และออกแบบโครงการสำคัญเพื่อให้สอดรับกับนโยบายทางการศึกษาของชาติและนโนบายของมหาวิทยาลัยขอนแก่นสู่การผลิกโฉมหน้าอุดมศึกษา การยกระดับคุณภาพการวิจัยทางการศึกษาสู่ Q1 และ Q2 ไปพร้อมกับการวิจัยที่แก้ปัญหาสังคมและสร้างนวัตกรรมที่ทนต่อการใช้งาน การบริการวิชาการที่เน้นการสร้างคุณค่าร่วมในรูปแบบ CSV และขับเคลื่อนสู่ SDGs โดยเฉพาะ SDGs 4 ที่เน้นการสร้างการศึกษาที่มีคุณภาพเปิดโอกาสให้กับทุกคนทุกกลุ่มด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิต ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาจะเดินหน้าเติมที่ให้เกิดการพลิกโฉมการเรียนรู้สู่กระบวนทัศน์ใหม่เน้นการสร้างประสบการณ์เรียนรู้มากกว่าการถ่ายทอด ได้แก่ โครงการ การจัดการเรียนรู้ตามกรอบการพัฒนาคุณลักษณะวิชาชีพครูคณะศึกษาศาสตร์ เช่น TPACK/STEM/PLC/ Computational Thinking/ AI / Research/การคิด และรวมไปถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่ให้ดิจิทัลเทคโนโลยีเป็นฐาน เช่น ยกระดับห้องเรียนสู่ Hybrid Classroom สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรม (EDINNO Space) เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาหลักสูตรผลิตครูแห่งอนาคต (การสร้าง/ปรับปรุงหลักสูตรตามกระบวนทัศน์ใหม่) และสร้างทักษะและสมรรถนะบัณฑิตเพื่อการแข่งขันผ่านโครงการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการทางการศึกษาใหม่ให้แก่นักศึกษา การสร้างและพัฒนาสมรรถนะ ขีดความสามารถของคณาจารย์เพื่อการผลิตบัณฑิตที่เป็นเลิศด้วยโครงการพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์ที่สนองตอบต่อการทำงานและการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของสังคม (Disruptive Educator) และเทคโนโลยีดิจิทัล โดยประสานความร่วมมือกับสถาบันชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ
อีกทั้งคณะฯยังได้จัดตั้งกองทุนฯเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าว 3 กองทุนฯคือ กองทุนวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการฯ คณะศึกษาศาสตร์ กองทุนพัฒนาวิชาการคณะศึกษาศาสตร์ (ทุนตำรา/ทุนศึกษาต่อ/ทุนฝึกอบรม ฯลฯ) และกองทุนสวัสดิการฯคณะศึกษาศาสตร์ (ดูแล/ห่วงใย/ใส่ใจและผูกพัน) ยุทธศาสตร์ด้านความเป็นนานาชาติและการต่างประเทศมุ่งเน้นสร้างชื่อเสียง (reputation) คณะศึกษาศาสตร์ให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติผ่านงานการศึกษาและงานวิจัย
นอกจากนี้ยังสร้างบรรยากาศและสิ่งสนับสนุนเพื่อตอบสนองความเป็นนานาชาติ ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรที่เป็นเลิศ โดยใช้เทคโนโลยีในการสนับสนุนด้วยโครงการสร้างความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ และแผนบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Management) การสร้างและพัฒนาระบบบริหารบุคคลที่สนับสนุนการขับเคลื่อนไปสู่คณะชั้นนำของประเทศด้วยโครงการส่งเสริมความก้าวหน้าในสายงานโครงการพัฒนาทักษะของบุคลากรให้มีความพร้อมสําหรับการทํางานในอนาคต (Future skill Development) ผ่านโครงการระบบประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับ OKRs รายบุคคล
อีกทั้งยังได้มองถึงโอกาสที่น่าลงทุนเพื่อการสร้างระบบรายได้ที่ยั่งยืนเพื่อสร้างและพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพย์สิน ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อสร้างรายได้ด้วยโครงการสร้างผู้ประกอบการทางการศึกษาเชิงสังคมและเชิงพานิชย์ (Educational Entrepreneurs for Social Enterprise and Business Challenge) โดยความร่วมมือกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ยุทธศาสตร์สุดท้ายคือยกระดับโรงเรียนสาธิตให้มีความเป็นเลิศเพื่อสนับสนุนพันธกิจของคณะ โดยการปรับวิสัยทัศน์ใหม่และเดินหน้าเต็มที่สู่การเป็นโรงเรียนชั้นนำด้านวัตกรรมการศึกษา ผลิตนักเรียนที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นนวัตกรในยุคดิจิทัล
November 8, 2021 – Faculty of Education organized a “KickOff” event for the 2022 Strategic Plans that will answer the challenges of “The NEXT Normal Education” after Covid-19, and transferred the major outcomes (OKRs) to internal divisions and individual members. Assoc. Prof. Sumalee Chaicharoen, Ph.D., Dean of the Faculty opened the event and gave the perspectives of the Faculty’s visions and goals to become one of the top three education faculties of the country. The Faculty in this regard is aiming towards education innovations that will upgrade the quality level of the national education.
Assoc. Prof. Sumalee Chaicharoen, Ph.D., Dean of the Faculty revealed that in the fiscal year 2022, the faculty will adjust the strategic plans and design key projects that will respond to the national educational policy as well as the policies of Khon Kaen University, namely, transforming the higher education, upgrading educational research towards Q1 and Q2 in parallel with research studies that solve social problems, building innovations that can be put in real practice, providing academic services that emphasize share values in the form of CSV, and finally expediting SDGs, especially SDG4 (quality education for all through life-long learning). The educational strategy will be one that transforms learning into a new paradigm that accents more on learning experiences than knowledge transferring. This will include learning projects under the scope of teaching profession such as TPACK/STEM/PLC/ Computational Thinking/ AI / Research/ thinking skills as well as construction of the learning environment with digital technology, Hybrid Classroom, learning space and EDINNO Space innovations.
In addition, there will be projects for developing future teacher programs (designing and constructing new-paradigm programs), projects for building graduates’ competitive skills and competency, which will be in parallel with a project that develops educational entrepreneurship skills, a project that strengthens the capacities of professors and lecturers in preparing excellence graduates, a project that responds to the social disruptive changes, and a project related to digital technology that will be under collaboration with leading institutions both in the country and abroad.
The Faculty has also set 3 funds to support the said strategies: research, innovation, and academic service fund, academic development fund (for writing textbooks, scholarships for continuing studies, training scholarships, etc.), and welfare funds for personnel. There is also a strategy for internationalization, in which the Faculty will emphasize reputation making at an international level through research works.
Moreover, the Faculty will build atmosphere with supporting facilities and utilities that will respond to the internationalization policy. The Faculty administration system will be carried out with an aim for excellence in management, by using technologies, Business Continuity Management, building personnel administration system that will bring the Faculty towards being a national leading education faculty. These can be achieved by promoting progress of the personnel and preparing them to be ready for the future (future skill development) that can be done by means of individual assessment of OKRs.
The Faculty also looks for the chance for sustainable income raising by management of the intellectual properties (Educational Entrepreneurs for Social Enterprise and Business Challenge). This can be done with collaboration from the business and industrial sector.
The last strategy is upgrading the Demonstration School for excellence and at the same time supporting the Faculty’s mission, by modifying the paradigm and stepping towards being an innovation-leader where school students have creative thinking and become innovators in the digital era.