คณะศึกษาศาสตร์ประชุมหารือตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2 เพื่อสร้างการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนหวังสร้างคุณภาพผู้เรียนและชุมชนอย่างยั่งยืน

 ด้วยกระแสรับสั่ง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ดำเนิน โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชน ตามพระราชดำริฯ โดยมีโรงเรียนในสังกัดของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นส่วนหนึ่งภายใต้โครงการฯ  ซึ่ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย คณะศึกษาศาสตร์ ได้มีความร่วมมือทางวิชาการ กับ กองบัญคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2 ซึ่งได้มีการลงพื้นที่ของสาขาวิชาสังคมศึกษา ช่วยในการสนับสนุนการจัดอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้ร่วมถึงนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน แก่ครูในในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 23 จำนวน 60 คน จาก 11 โรงเรียน ในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างสรรค์นวัตกรรมการสอนสังคมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” โดยมีผลลับบรรลุตามวัตถุประสงค์คณะครูผู้เข้าร่วมอบรมในโครงการฯ สามารถนำองค์ความรู้ ทักษะกระบวนการจัดการต่าง ๆ ไปใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และเกิดเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับสถานศึกษาในสังกัดกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2

การนี้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 คณะศึกษาศาสตร์ นำโดย รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และคณาจารย์สาขาวิชาสังคมศึกษา ร่วมต้อนรับ พล.ต.ต.พงษ์พิพัฒน์ ศิริพรวิวัฒน์ ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 2 และ พ.ต.อ.สิปปนันท์ สรณ์คุณแก้ว ผู้กำกับการตำรวจตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 23  พร้อมด้วย นายตำรวจนิเทศ และคณะครูใหญ่ จากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั้ง 11 แห่ง โดยในครั้งเป็นการประชุมหารือแนวทางการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งประสบปัญหาในการจัดจำหน่ายเนื่องจากสถานการโควิด-19 รวมถึงหารือแนวทางการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Online โดยใช้ แพลตฟอร์ม Edulearn  ที่ใช้ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ช่วยเหลือในการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการโควิด-19 ในโรงเรียนตำรวจตระแวนชายแดน ซึ่งแนวทางการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ โดยการส่งเสริมการขายแบบออนไลน์ ซึ่งคาดว่าต้องขยายขอบเขตในการทำงานเพิ่มขึ้นที่จะขอความอนุเคราะห์หรือขอความรวมมือจากคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น มาร่วมมือในการพัฒนาส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่มีทั้ง หัตธรรม อาหารแปลรูป และอื่นๆ ซึ่งอาจจะมีการนำร่องในโรงเรียนต้นแบบและขยายไปสู่การพัฒนาสินค้าในชนบทใกล้เคียงต่อไป นอกเนื่องจากการส่งเสริมผลิตภัณฑ์แล้ว อาจจะมีการฝึกอบรมที่ขยายขอบข่ายนอกจากสาขาวิชาสังคมที่จะช่วยพัฒนาครูในกลุ่มสาระวิชาอื่นๆ และในช่วงสถานการโควิด-19 ที่มีการนำการเรียนการสอนออนไลน์เข้ามา ทางคณะศึกษาศาสตร์เสนอที่จะนำแพลตฟอร์ม Edulearn ที่เป็นระบบช่วยในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ซึ่งใช้อยู่ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น นำไปใช้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ถ้าสถานการโควิด-19 ยังคงอยู่ก็จะช่วยให้เรื่องจัดการการเรียนการสอนได้ต่อเนื่องมากขึ้น

more insights

ศึกษาศาสตร์ มข. จัดอบรมต่อเนื่อง ‘AI-Exploring Educator’ นำร่องขับเคลื่อน ‘KKUED AI Competency’ ติดอาวุธครูสาธิตฯ ระดับประถม สู่ยุคดิจิทัล

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เดินหน้าวิสัยทัศน์ด้านนวัตกรรมการศึกษา ผ่านการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “AI-Exploring Educator” ซึ่งถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการขับเคลื่อนกรอบสมรรถนะที่คณะฯ พัฒนาขึ้นเองอย่าง “KKUED AI Competency” เพื่อสร้างครูแห่งอนาคตที่ไม่ได้เป็นเพียงผู้ใช้เทคโนโลยี แต่คือ ‘ผู้ออกแบบการเรียนรู้’ อย่างแท้จริง รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ กล่าวถึงหลักการสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนครั้งนี้ว่า “เราเชื่อมั่นว่า

Read more >

ศึกษาศาสตร์ มข. จัดอบรม Thailand PSF รุ่นที่ 2 สู่สมรรถนะอาจารย์มืออาชีพ

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “เพื่อพัฒนาอาจารย์ในสถานอุดมศึกษา Thailand-PSF” รุ่นที่ 2 มุ่งเตรียมความพร้อมให้คณาจารย์เข้าสู่สมรรถนะอาจารย์มืออาชีพตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพของประเทศไทย (Thailand Professional Standards Framework) กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.จารุณี ซามาตย์ รองคณบดีฝ่ายการศึกษา เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรม พร้อมได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิอย่าง รศ.ดร.โอภาส เกาไศยาภรณ์

Read more >

โครงการ “ครูรักษ์ถิ่น” ศึกษาศาสตร์ มข. คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 แนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ตอกย้ำพันธกิจสร้างครูคุณภาพสู่ชุมชน

1 กรกฎาคม 2567 | ห้องประชุมสารสิน อาคารสิริคุณากร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น – คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย “โครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน ปีการศึกษา 2567 (โครงการครูรักษ์ถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น)” สามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ประเภทแนวปฏิบัติที่ดี

Read more >
Scroll to Top