เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์ ประกอบด้วย รศ.ดร.สิทธิพล อาจอินทร์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร รศ.ดร.จารุณี ซามาตย์ รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร ผศ.ดร.นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมการศึกษาสร้างสรรค์ ดร.ณัฐพล มีแก้ว นางอรุณี กางเพ็ง หัวหน้างานคลังและพัสดุ นางอรกัญญา เบ้าจรรยา หัวหน้างานแผนและสารสนเทศ และ นางสาวมธุรส เมืองสุข นักวิชาการศึกษา เดินทางไปยังสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) ตามคำเชิญของ ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ ประธานกรรมการบริหาร โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการสร้างพันธมิตรในการร่วมพัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่ตอบสนองการพลิกโฉมการศึกษาของประเทศโดยเฉพาะแนวคิดในการสร้างผู้เรียนให้เป็นนวัตกร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ได้ร่วมเจรจาเพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับ ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการปฏิบัติรูปประเทศด้านการศึกษา
โดยทางสถาบัน พว. อยากร่วมมือกับคณะศึกษาศาสตร์ให้เป็นแม่ข่าย (Education Hup) ในการพัฒนาครูและผู้เรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายหลังการเจรจาความร่วมมือทางวิชาการแล้ว ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการปฏิบัติรูปประเทศด้านการศึกษาได้บรรยายแลกเปลี่ยนถึงนวัตกรรม Active Learning ตามโมเดล GPAS 5 Steps ที่ทางสถาบัน ได้ใช้ในการพัฒนาการศึกษาในภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศ ซึ่งได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจอย่างมาก และทางสถาบัน พว. ได้เชิญให้คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ร่วมเสนอแนะและแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาสู่การพลิกโฉมประเทศ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์กล่าวว่า หัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา คือการปฏิรูปวิธีการเรียนรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างวิธีการเรียนรู้ที่ผ่านการคิด และนำมาสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม หลังจากการบรรยายและเสวนาทางวิชาการแล้ว ผู้บริหารสถาบัน พว. ได้นำคณะผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์เยี่ยมชมนวัตกรรมการศึกษาซึ่งเป็นผลผลิตที่ พว.พัฒนาขึ้นทั้งในระดับอนุบาลศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาในสาระการเรียนรู้ต่างๆ สำหรับสถาบัน พว.เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.2531 เป็นองค์กรแห่งการพัฒนาการศึกษาที่มีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในด้านผู้ผลิตผลงานทางวิชาการ จนเป็นอันดับแนวหน้าของประเทศ มีนักวิชาการที่มีชื่อเสียงมีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา มากกว่า 200 ท่าน และเป็นผู้ผลิต หนังสือแบบเรียนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ หนังสือกิจกรรมการเรียนรู้ หนังสือแบบฝึกหัด หนังสือเสริมทักษะ หนังสือเสริมศักยภาพสำหรับครู หนังสือสำหรับห้องสมุดทุกระดับ สื่ออิเล็กทรอนิกส์(E-Book)มีการจัดโครงการอบรมสัมมนาให้กับผู้บริหาร ครูผู้สอนชั้นปฐมวัย ครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาทุกระดับช่วงชั้น จัดทำข้อสอบประจำภาคเรียน นำเข้าหนังสือ สื่อที่ทันสมัยจากต่างประเทศทั่วทุกมุมโลก ผ่านบริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) อินเตอร์เนชันแนล จำกัด และได้ผลิตสื่อมอนเตสซอรี สื่อคณิตศาสตร์ เพื่อประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ และสื่อของเล่น เพื่อการศึกษา (Wooden Toys) ที่ได้รับรองมาตรฐานการส่งออก และมาตรฐานสากล ส่งไปจำหน่ายทั่วโลก การเจราจาทางวิชาการในครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะนำไปสู่การลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่เป็นโอกาสในการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย นวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา และคณาจารย์ ซึ่งจะตอบสนองในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะในการจัดตั้งเป็นหน่วยธุรกิจเพื่อสังคมด้านการศึกษา (Education Social Enterprise) ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นต่อไป
คณะศึกษาศาสตร์ยกระดับความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) สู่การพลิกโฉมการศึกษาด้วยนวัตกรรม Active Learning สู่การสร้างนักนวัตกรสำหรับผู้เรียน
69