คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน (บพค.) และพันธมิตรภาคเอกชน จัดโครงการ “Hackathon & Pitching E-SAN Thailand PMU-B Coding & AI Academy Season 2” โดยมี รศ.ดร.จารุณี ซามาตย์ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ ซึ่งมุ่งพัฒนาทักษะด้าน Coding และ AI ให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-11 กุมภาพันธ์ 2568 ณ โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ ที่ปรึกษาคณบดีคณะศึกษาศาสตร์เป็นประธานในพิธีเปิด และ รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ เป็นประธานกล่าวปิดกิจกรรมและมอบรางวัลแก่ผู้ชนะ มีผู้เข้าร่วมในกิจกรรมประกอบด้วยเยาวชนผู้ผ่านเข้ารอบ ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะนักวิจัย และผู้ประกอบการ
ทั้งนี้ “Hackathon & Pitching E-SAN Thailand PMU-B Coding & AI Academy Season 2” จัดขึ้นภายใต้โครงการการพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะทางวิชาชีพด้าน STEM, Coding & AI สำหรับเยาวชน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้แก่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.), สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ(สอวช.), หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม(บพค.), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.), ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพัฒนากำลังคนโค้ดดิ้งและพลเมืองดิจิทัล(CMDDC), ศูนย์วิจัย RUEE Lab, Advance Builders of Coding Solutions Hub, E-SAN Thailand PMU-B Coding & AI Academy, บริษัท ARO Thinking ประเทศเกาหลีใต้, บริษัท โค้ด คอมแบท (เอสอีเอ) จำกัด, บริษัท บิทคับแล็บส์จำกัด(บิทคับอะคาเดมี), บริษัท โฟกัส อารีน่า จำกัด, บริษัท ซัน สมาร์ท เทค จำกัด, บริษัท พรีซีชั่นไดเอทซ์ จำกัด, บริษัท อินเทลลิจิสต์ จำกัด (มหาชน) บริษัท มายด์บอท จำกัด บริษัท ตั้งต้นดี จำกัด และ บริษัท เฟรนโรบอท จำกัด โดยมี รศ.ดร.จารุณี ซามาตย์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยฯ โดยกิจกรรมได้แบ่งออกเป็น 3 รอบการแข่งขัน รอบที่ 1 Basic STEM Coding & AI Skills จำนวนมากกว่า 1,000 คน คัดเลือกจากเยาวชนผู้สนใจจากทั่วประเทศ รอบที่ 2 Advance STEM Coding & AI Skills and Proposal Round จำนวน 300 คน และรอบที่ 3 Hackathon & Pitching ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-11 กุมภาพันธ์ โดยคัดเลือกให้ได้จำนวน 20 ทีม 57 คน
รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร กล่าวว่า “ทักษะด้าน STEM Coding และ AI จะเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานในอนาคต โครงการนี้จึงถูกออกแบบให้เป็นเสมือนบันไดที่จะพาเยาวชนไทยก้าวสู่โลกแห่งนวัตกรรมดิจิทัล ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เข้มข้นตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับสูง อีกทั้งได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีที่ได้เข้ามาถ่ายทอดประสบการณ์และให้คำแนะนำแก่เยาวชน ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ตรงในวงการนี่ไม่เพียงเป็นการพัฒนาทักษะเฉพาะตัวของเยาวชนเท่านั้น แต่ยังเป็นการวางรากฐานสำคัญในการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากผู้ใช้เทคโนโลยี สู่การเป็นผู้ผลิตและสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อรองรับความต้องการกำลังคนทั้งภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอนาคตที่ทักษะทางด้าน Coding และ AI จะกลายเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม”
การริเริ่มโครงการนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของภาคการศึกษาไทยในการเตรียมความพร้อมกำลังคนรุ่นใหม่ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต และยังเป็นโมเดลต้นแบบที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคเอกชนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ













































รางวัล “ชนะเลิศ” เงินรางวัล 50000 บาท จำนวน 1 รางวัล ได้แก่
ทีม Handsome all the time ได้ แก่ 1) นายณัฐพัฒน์ จันสว่าง โรงเรียนกัลยาณวัตร 2) นายธนิสร ธรรมรัตนิกร โรงเรียนกัลยาณวัตร 3) นายคณิน น้อยสิริ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รางวัล “รองชนะเลิศอันดับ 1” เงินรางวัล 25000 บาท จำนวน 1 รางวัล ได้แก่
ทีม OatCopterPhoto
รางวัล “รองชนะเลิศอันดับ 2” เงินรางวัล 15000 บาท จำนวน 1 รางวัล ได้แก่
ทีม E-nergy
รางวัล “รองชนะเลิศอันดับ 3” เงินรางวัล 5000 บาท จำนวน 2 รางวัล ได้แก่
1. ทีม QWERTY
2. ทีม เป็ดน้อย
รางวัลพิเศษ “ทุนการศึกษาสำหรับดูงาน ณ ประเทศเกาหลีใต้” จำนวน 3 รางวัล ได้แก่
1. นางสาวกรกนก ศรีละโสภา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. นายอัจฉริยะ สมสกีสิทธิ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3. นายภาณุปรัชญ์ สุวรรณจันทร
รางวัล “POPULAR VOTE” เงินรางวัล 5000 บาท จำนวน 1 รางวัล ได้แก่
ทีม 2gether
รางวัล “SPECIAL AWARD” เงินรางวัล 5000 บาท จำนวน 1 รางวัล ได้แก่
ทีม wellmade
รางวัล “SPECIAL AWARD” เงินรางวัล 3000 บาท จำนวน 1 รางวัล จาก ““บริษัท MINDBOT” ได้แก่
ทีม เป็ดน้อย
รางวัล “SPECIAL AWARD” เงินรางวัล 3000 บาท จำนวน 1 รางวัล จาก “RUEE LAB” ได้แก่
ทีม wellmade
รางวัล “SPECIAL AWARD” เงินรางวัล 3000 บาท จำนวน 1 รางวัล จาก “บริษัท พรีซีชั่นไดเอทซ์ จำกัด” ได้แก่
ทีม NTF
รางวัล “SPECIAL AWARD” เงินรางวัล 2500 บาท จำนวน 1 รางวัล จาก “บริษัท FRIEND ROBOT” ได้แก่
ทีม E-nergy
รางวัล “SPECIAL AWARD” เงินรางวัล 2500 บาท จำนวน 3 รางวัล จาก “บริษัท SUN SMART TECH” ได้แก่
1. ทีม iostream
2. ทีม I-Tech
รางวัล “SOCIAL IMPACT” เงินรางวัล 2000 บาท จำนวน 3 รางวัล จาก “บริษัท ตั้งต้นดี” ได้แก่
1. ทีม FULL MOON PARTY
2. ทีม iostream
3. ทีม กว๊านพะเยา