bannerweb-R9-2
slider-img-11-1
slider-img-1
slider-img-2
slider-img-3
slider-img-4
slider-img-7
previous arrow
next arrow

"ครูมืออาชีพ"​

การปลูกฝังจิตใจให้บุคคลมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เป็นการสร้างคุณธรรมจริยธรรมซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดจากภายใน “จิตสาธารณะ” เป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญในการปลูกจิตสำนึกให้คนรู้จักเสียสละ ร่วมแรง ร่วมใจ มีความร่วมมือในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ช่วยกันพัฒนาคุณภาพ ชีวิต เพื่อเป็นหลักการในการดำเนินชีวิต ช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม

ED@KKU News

  • ศึกษาศาสตร์จัดอบรมเตรียมความพร้อมเข้ารับการตรวจประเมินคุณภาพเกณฑ์ AUN-QA

    เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการตรวจประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตรเกณฑ์ AUN-QA Version 4.0 ในหัวข้อ "AUN-QA Implementation" มี รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรมฯ ทั้งนี้วิทยากรได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.นันทรัตน์ โฆมานะสิน ผู้ตรวจประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร ทปอ. รศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูร คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มข. ผู้ตรวจประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร ทปอ.  และ ผศ.ดร.กันยารัตน์ เควียเซ่น ผู้ตรวจประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร ทปอการอบรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพศึกษาที่คณะศึกษาศาสตร์ ที่จะเตรียมความพร้อมให้แก่ คณาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ร่วมไปถึงโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับทราบถึงเกณฑ์และแนวทางการตรวจประเมินคุณภาพ AUN-QA Version 4.0 ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยและนำไปสูการลงมือปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นการรับรองคุณภาพของหลักสูตรของคณะ และโรงเรียน มีมาตรฐานการสอนและการเรียนรู้ที่ทันสมัยและตรงตามเกณฑ์สากลและตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและสังคมได้อย่างเหมาะสม

  • ประกาศผลการคัดเลือกผู้ผ่านการสอบสัมภาษณ์และได้รับทุนโครงการแลกเปลี่ยน SEA-Teacher project 2024

    ประกาศผลการคัดเลือกผู้ผ่านการสอบสัมภาษณ์และได้รับทุนโครงการแลกเปลี่ยน SEA-Teacher project 2024 เพื่อฝึกประสบการณ์สอน ณ มหาวิทยาลัยเครือข่ายต่างประเทศ ขอให้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกรายงานตัวโดยยืนยันสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการฯ ที่อีเมล Picwon@kku.ac.th ตั้งแต่วันนี้ - วันที่ 11 ธันวาคม 2566

  • “จุดประทีบตูมกาขอขมาพระแม่คงคา” จากการค้นคว้าขบวนแห่วัฒนธรรมอีสานสู่สายตาในงานสีฐานเฟสติวัล

    สีฐานเฟสติวัล บุญสมมาบูชานาค หรือ Sithan KKU Festival มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงเทศกาลวันลอยกระทง ซึ่งได้ผสมผสานความหลากทางศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ร่วมถึงการสืบสานและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมผ่านความศรัทธาในเชิงคุณค่าแบบดั้งเดิมของชาวอีสาน ให้เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้ สร้างสรรค์ ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค และระดับชาติ โดยในปี 2566 นี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดเทศกาล สีฐานเฟสติวัล บุญสมมาบูชานาค ขึ้นระหว่างวันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2566 ณ บริเวณบึงสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยสโมสรนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ได้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นประจำทุกปี ซึ่งในปี้นี้ (2566) ได้เข้าร่วมประกวดขบวนแห่ งานสีฐานเฟสติวัลโดยมีแนวคิด “จุดประทีปไฟไต่ตูมกา บัวแก้วเลื่อมศรัทธา สมมานาคะเจ้า” ซึ่งเสนอการนำประทีบไฟตูมกาที่ใช้ในพิธีกรรมบูชาพระพุทธศาสนาและการขอขมาพระแม่คงคา ผ่านขบวนแห่ที่มีความเฉพาะเจาะจง ที่เผยแพร่วิถีชีวิตและศาสนาของชาวบ้านทุ่งแต้จังหวัดยโสธรอย่างที่ไม่เหมือนใคร จากการค้นคว้าและลงพื้นที่ในจังหวัดยโสธรและจังหวัดอุบลราชธานี ของผู้ออกแบบ โดยสโมสรนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ซึ่งแนวคิดของขบวนแห่นี้นำเสนอเรื่องราวของประเพณีจุดไฟตูมกา บ้านทุ่งแต้ จังหวัดยโสธร เป็นสถานที่ที่มีประเพณีและวิถีชีวิตที่เชื่อถือในพระพุทธศาสนาและพญานาค โดยในช่วงวันเพ็ญเดือนสิบสอง (วันลอยกระทง) ชาวบ้านจะนำผลตูมกา มาผ่าครึ่งแล้วคว้านเอาเนื้อและเมล็ดออกจากนั้นจะนำไปตากแห้ง และนำฝ้ายมาฟั่นเป็นเกลียวคล้ายตีนกา แล้วหยอดน้ำมันเทียนลงในผลตูมกาเพื่อเป็นผางประทีป ใช้ลอยในการขอขมาพระแม่คงคา ซึ่งมีความศรัทธาและเชื่อว่าเป็นการสมมาต่อพญานาคผู้พิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนา และเป็นอีกประเพณีสำคัญหนึ่ง ที่จัดขึ้นที่วัดบูรพาบ้านทุ่งแต้ จังหวัดยโสธร  ส่วนการแต่งกายของผู้เดินขบวนแห่นั้นถูกถ่ายทอดในรูปแบบของอัญญานางและขุนนางผู้ดีเมืองอุบลราชธานี ด้วยแต่ก่อนจังหวัดยโสธรขึ้นเป็นอำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี และเมื่อปี พ.ศ2515 จึงแยกออกจากจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยการแต่งกายอย่างผู้ดีชั้นเจ้านายจะนุ่งซิ่นไหมคำมีตีนเชิงกรวย เป็นการผสานศิลปวัฒนธรรมอีสานพื้นถิ่นของจังหวัดยโสธร ถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานผ่านขบวนวัฒนธรรมและการแสดงที่มีเอกลักษณ์และน่าสนใจในมุมมองของการสืบทอดประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งรวมไปถึงส่วนประกอบที่สำคัญของขบวนแห่ คือ กระทง ที่สโมสรนักศึกษาได้ร่วมกันรังสรรค์ออกมาภายใต้แนวคิด “ประทีบใต้นาคา บูชาพระโคดม” โดยนำเอาความเชื่อของผู้คนในลุ่มแม่น้ำโขง รวมไปถึงวิธีชีวิต เอกลักษณ์ศิลปะสกุลช่างญวน วัดราษฎร์ประดิษฐ์ จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีความโดดเด่นในรูปแบบและโทนสีเฉพาะตัว ประดิษฐ์เป็นโคมในรูปแบบกระทงที่ได้รับแรงบรรดาลใจจากประทีบตูมกา โดยมีรูปทรงเป็นโคมไฟพร้อมการสลักลวดลายวัฒนธรรมผสมผสานกับหัตถศิลป์พื้นบ้านและฉลุลวดลาย โดยวัสดุที่นำมาใช้ทำกระทงนั้นเป็นวัสดุจากธรรมชาติและวัสดุรีไซเคิล “เรานำแนวคิดและแรงบันดาลใจจากที่เราได้เห็นผ่านโลกโซเชียลในเรื่องของประเพณีการจุดไฟตูมกา ของชาวบ้านทุ่งแต้ จังหวัดยโสธร และเราก็ได้ปรึกษากันในทีม จึงได้ลงพื้นที่จังหวัดยโสธรและจังหวัดอุบลราชธานี ไปศึกษาบริบทจริงและได้ไปเห็นว่าเค้าทํากันยังไงครับ รวมถึงสอบถามผู้รู้ ไปดูสถานที่จริง ซึ่งไฟตูมการเกิดขึ้นมาจากการที่ในสมัยแต่ก่อนนั้นมันไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงได้นําผลตูมกามาควานเมล็ดออกแล้วก็นําเทียนไปจุดด้านใน เพื่อส่องสว่างจนกระทั่งภายหลังเนี่ย นํามาใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาพระพุทธและชาวบ้านก็จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับเรื่องของแม่น้ำลําคลองครับ และก็เชื่อว่าสิ่งที่อยู่ในนั้นที่ปกปักษ์รักษาเนี่ยก็คือพญานาค ก็เลยนําไฟตูมกานี้มาลอยเพื่อเป็นการขอขมาและสักการะพญานาคผู้เป็นเจ้าบาดาลดูแลปกปักรักษาน่านน้ำลําคลองให้อุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปีเพื่อที่จะใช้ในการเกษตร เราเลยได้นำเอาแนวคิดนี้มาสร้างสรรค์เป็นงานออกแบบขบวนและกระทงเพื่อที่จะนำมาใช้ในงานสีฐานเฟสติวัลในปีนี้และเราก็อยากจะให้คนที่มาเที่ยวงานได้เห็นว่ามีประเพณีนี้อยู่ในภาคอีสานของเราครับ” นายปฏิพล หฤแสง นายกสโมสรนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ประจำปี 2566 : ผู้ให้สัมภาษณ์  ซึ่งนอกจากขบวนวัฒนธรรมที่นำเสนอเอกลักษณ์และวิถีชีวิตของชาวอีสานแล้ว สโมสรนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ยังได้ร่วมส่งขบวนแห่ KKU Carnival 2023 ภายใต้ธีม “Esan Ghost Play Dance Troupe เริงระบำเทศกาลผีแห่งอีสาน” ที่หยิบยกเอา “ผีบรรพบุรุษ ผีปู่ผีย่า ผีตาผียาย” ที่มีอิทธิพลต่อพิธีกรรมและการดำเนินชีวิตของชาวอีสาน ซึ่งด้วยความเชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษประกอบกับความเชื่อในพระพทธศาสนาได้เกิดเป็นประเพณี บุญเดือนสิบ บุญข้าวสาก ซึ่งเป็นการทำห่อข้าวสาก พร้อมข้าวปลาอาหารไปห้อยไว้ตามต้นไม้หรือบริเวณรั้ววัดให้ผีเปรต ผีเร่ร่อน ได้มารับส่วนบุญส่วนกุศลซึ่งผลบุญก็จะอวยพรให้ลูกหลานอยู่เย็นเป็นสุข ร่วมไปถึงประเพณีเลี้ยง “ผีตาแฮก” ในที่นาก่อนที่จะเริ่มลงกล้าข้าวโดยเชื่อว่าจะช่วยดูแลให้ข้าวงอกงามอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นที่มาของขบวน Carnival ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษร่วมถึงความสนุกสนานของชาวอีสานเมื่อมีงานบุญประเพณีต่างๆ ในรูปของขบวนการแสดงที่ตื้นเต้นและสนุกสนาน ทุกองค์ประกอบของการสร้างสรรค์ที่สโมสรนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ที่รวบรวมและค้นคว้า ได้มาซึ่งองค์ความรู้พร้อมรังสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าและความหมายของวัฒนธรรมอีสานนั้น ได้นำมาถ่ายทอดสู่สายตาของผู้คนที่ท่องเที่ยวในงาน สีฐานเฟสติวัล บุญสมมาบูชานาค มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2566 ได้เห็นถึงความสวยงามถึงภูมิปัญญาประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมเพื่อดำรงและรักษาไว้ให้ลูกหลานต่อไป

  • ประกาศรายชื่อนักศึกษาที่มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกรับทุนโครงการ SEA-Teacher project

    ประกาศรายชื่อนักศึกษาที่มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกรับทุนโครงการ SEA-Teacher project 2024 ทั้งนี้ เนื่องจากคณะกรรมการติดภารกิจจึงได้เลื่อนการสอบสัมภาษณ์และเปลี่ยนแปลงเป็นการสอบในรูปแบบออนไลน์🗓️สอบสัมภาษณ์ วันพุธที่ 6 ธันวาคม 2566⏱️ เวลา 17.00 เป็นต้นไป ผ่าน Zoom meetingตามลิงค์ที่แนบมาพร้อมนี้https://zoom.us/j/98521983509?pwd=bTlBSU5lb3hsNzVHWFNUUkFwWEdJdz09 Meeting ID: 985 2198 3509 Passcode: 892016

  • ฝ่ายวิจัยฯ ศึกษาศาสตร์จัดสัมมนา ED Research Program ขอรับกรอบการจัดสรรทุนและการระดมสมองโครงการวิจัย บพท.

    เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและวิเทศสัมพันธ์จัดสัมมนา“การพัฒนาแผนงานวิจัยคณะศึกษาศาสตร์ (ED Research Program) เพื่อขอรับทุนสนับสนุนแบบมุ่งเป้า จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567” ครั้งที่ 1 โดยมี รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม รองคณบดีฝ่ายบริหาร วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นวิทยากร ร่วมกับ รศ.ดร.พรสวรรค์ วงค์ตาธรรม รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและวิเทศสัมพันธ์ รศ.ดร.จารุณี ซามาตย์ รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ ผศ.ดร.ปรมะ แขวงเมือง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานวัตกรรมและวิสาหกิจ คณะศึกษาศาสตร์ เพื่อให้คณาจารย์ นักวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับความรู้ความเข้าใจกรอบ การจัดสรรทุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และระดมสมองเขียนข้อเสนอโครงการ เพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุนหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 อีกทั้งยังได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยให้สอดคล้องกับกรอบการจัดสรรทุนเพื่อให้ได้รับการพิจารณา ทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก

  • ศึกษาศาสตร์จัดอบรมเตรียมความพร้อมแผนเผชิญเหตุอุบัติภัยเบื้องต้น

    เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดกิจกรรมอบรมการเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุอุบัติภัยเบื้องต้น โดยมี ผศ.ดร.ศิริพงษ์ เพียศิริ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร การสื่อสารและชุมชนสัมพันธ์ พร้อมด้วย ดร.ชัชวาล หนองนา ผู้อำนวยการกองบริหารงานคณะฯ และบุคลากรร่วมอบรม เพื่อเสริมสร้างความตระหนักและฝึกทักษะในการรับมือกับอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยเน้นไปที่ด้านอัคคีภัย เพื่อป้องกัน ระงับ และลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์นั้นๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากกองป้องกันและรักษาความปลอดภัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มี นายมรกต สุบิน รักษาการแทนผู้อำนวยการกองฯ พร้อมเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมเป็นวิทยากรอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ให้ได้รับความรู้และทักษะในการป้องกัน รับมือ และตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมไปถึงได้ฝึกฝนทักษะในการระงับอัคคีภัยเบื้องต้นและฝึกซ้อมแผนอพยพหนีไฟอย่างถูกวิธีและปลอดภัย กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของในการเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากรคณะศึกษาศาสตร์เพื่อเพิ่มความมั่นใจและความรู้ในการดูแลความปลอดภัยของแก่คณาจารย์และนักศึกษา ในคณะศึกษาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  • อบรมเชิงปฏิบัติการ “นวดดีมีสุข” สร้างทักษะเสริม ช่วยผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ

    เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 คณะศึกษาศาสตร์ โดยฝ่ายพัฒนานักศึกษาและองค์กรสัมพันธ์ ร่วมกับ ศูนย์ความเป้นเลิศด้านสุขภาวะทางจิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรม “นวดดีมีสุขเพื่อเสริมสมรรถนะในการเรียนและการทำงาน” วิทยากรโดยคณาจารย์จากสาขาวิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ.ดร.กภ.คุรุศาสตร์ คนหาญ, อ.ดร.กภ.ทิวาพร จาดเปรม, Mr.Lee Daid Johnson, กภ.ชวิน สาลีนุกุล ถือเป็นโอกาสในการเรียนรู้เทคนิคการนวดผ่อนคล้ายในรูปแบบต่างๆ เพื่อผ่อนคลายร่างกาย โดยกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจของฝ่ายพัฒนานักศึกษาและองค์กรสัมพันธ์ คณะศึกษาศาสตร์ ที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจของนักศึกษา

  • มหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดมอบรางวัลชื่นชมยินดีด้วยไมตรีและขอบคุณบุคลากรมหาวิทยาลัยขอนแก่นประจำปี 2566

    เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมยกย่องเชิดชูเกียรติ ชื่นชมยินดีด้วยไมตรีและขอบคุณ บุคลากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธี และ รศ.ดร.เกรียงไกร กิจเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล กล่าวรายงาน ซึ่งในการนี้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติด้านการผลิตบัณฑิต ประเภทการพัฒนานักศึกษา “ระดับดี” โดยมี ผศ.ดร.ศิริพงษ์ เพียศิริ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร การสื่อสารและชุมชนสัมพันธ์ พร้อมด้วย ดร.ชัชวาล หนองนา ผู้อำนวยการกองบริหารงานคณะศึกษาศาสตร์ ผู้แทนคณบดีเข้ารับโล่รางวัล ทั้งนี้ รศ.ดร.โชคชัย ยืนยง อาจารย์ประจำสาขาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา ร่วมรับมอบดอกไม้แสดงความยินดีพร้อมเข็มกลัด 60ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในโอกาสเป็นคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับรางวัลในระดับนานาชาติผู้ที่สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย โดยได้รับรางวัล World’s Top 2% Scientist จาก Stranford University

  • ศึกษาศาสตร์ร่วมต้อนรับและหารือความร่วมมือ Universitas Negeri Surabaya ประเทศอินโดนีเซีย

    เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ร่วมให้การต้อนรับ คณาจารย์และนักศึกษาจาก Universitas Negeri Surabaya ประเทศอินโดนีเซีย นำโดย Neni Mariana, M.Sc., Ph.D. พร้อมด้วย คณาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 15 ท่าน ในโอกาสเดินทางแลกเปลี่ยนและเยี่ยมชมคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และได้เข้าเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายนานาชาติ ทั้งนี้ได้มีการร่วมถึงหารือความร่วมมือทางวิชาเพื่อที่จะสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและวิชาชีพด้านการศึกษาระหว่างสองสถาบันในอนาคต

    คุณจิราภรณ์ เหลืองไพรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและคณะทำงาน เข้าเยี่ยมชมการสร้างสรรค์นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ และผลิตภัณฑ์ของนักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น

    ED@KKU Life

    ความสุขคือการได้ใช้ชีวิตที่สนุกสนาน ได้ทำงานที่ตนเองชอบ ได้ใช้ความสามารถเพื่อก่อให้เกิดผลที่ไม่ใช่แค่ประโยชน์ส่วนตน
    แต่เป็นบางอย่างที่มันยิ่งใหญ่กว่าตัวเรา เช่น ทำประโยชน์เพื่อสังคม

    ED@KKU Society

    การวิจัยเป็นพื้นฐานสำคัญในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา โดยการใช้องค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญของคณาจารย์ นักวิจัย บัณฑิตศึกษา นักศึกษา ตลอดจนเครือข่ายสถาบันชั้นนำทั้งในและต่างประเทศเพื่อยกระดับคุณภาพผลงานวิจัยของคณะให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ คณะศึกษาศาสตร์จึงมีโครงการวิจัยที่สำคัญ (Research Program) หลายโครงการด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยในเชิงบูรณาการศาสตร์แบบสหวิทยากร เช่น Cognitive Sciences, Education Neurosciences, AI in Education, Educational Policy and Leadership เป็นต้น 

    นวัตกรรมทางการศึกษา เป็นผลผลิตที่สำคัญของคณะศึกษาศาสตร์ ซึ่งเกิดจากวิจัยที่ใช้องค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ของคณาจารย์และนักศึกษา การขับเคลื่อนเพื่อการจัดการเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะถูกนำไปต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์และวิสาหกิจเพื่อสังคม ตัวอย่างนวัตกรรมที่สำคัญ เช่น บอร์ดเกมทางการศึกษา ดิจิทัลมีเดีย ชุดนวัตกรรมทางการศึกษา ดิจิทัลเกม ตำรา/หนังสือ เป็นต้น

    อีกบทบาทที่สำคัญของคณะศึกษาศาสตร์คือการได้ส่งต่อแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เพื่อสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงวิชาการสู่วิชาชีพทางการศึกษา และประชาชนโดยทั่วไปให้ได้รับข่าวสารและองค์ความรู้ที่ทันสมัยทางการศึกษา เช่น ผลงานวิจัยล่าสุด กระแสทรรศนะทางการศึกษา เป็นต้น

    โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดคณะศึกษาศาสตร์ ซึ่งเป็นแหล่งร่วมผลิตบัณฑิตทางวิชาชีพครู การเป็นห้องทดลองทางการศึกษาเพื่อการวิจัยและสร้างนวัตกรรม ปัจจุบันโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดการศึกษาออกเป็น 7 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายอนุบาลศึกษา ฝ่ายประถมศึกษา (มอดินแดง) ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ฝ่ายการศึกษานานาชาติ และฝ่ายการศึกษาพิเศษ ปัจจุบันโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีวิสัยทัศน์มุ่งเน้นการผลิตนักเรียนที่มีความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมในยุคดิจิทัล

    คณบดีคณะศึกษาศาสตร์

    การเปลี่ยนแปลงการศึกษาเพื่อสังคมที่มีคุณภาพคณะชั้นนำในการผลิตครูมืออาชีพและสร้างนวัตกรรมการศึกษาด้วยงานวิจัย เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมการเรียนการสอน

    รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร

         การเปลี่ยนแปลงการศึกษาเพื่อสังคมที่มีคุณภาพ คณะชั้นนำในการผลิตครูมืออาชีพและสร้างนวัตกรรมการศึกษาด้วยงานวิจัย เพื่อขับนวัตกรรมการเรียนการสอน คือ สิ่งที่นำเข้ามาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาจมีผู้คิดค้นไว้ก่อนแล้วหรือคิดขึ้นใหม่ มักจะเป็นแนวคิดหรือวิธีการ เช่น รูปแบบ การสอน หรือสื่อการเรียนการสอน การวิจัยย่อมปรากฏผลทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ แต่จะมีประโยชน์มากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะข้อมูล วิธีการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการให้ความหมายข้อมูลว่ามีความเชื่อถือและเที่ยงตรงได้หรือไม่เพียงใด ถ้าข้อมูลเป็นเท็จก็จะกลับเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการนำผลไปใช้ แต่อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่ดีย่อมมีคุณประโยชน์

    จำนวนนักศึกษาปัจจุบัน

    300
    นักศึกษาระดับปริญญาตรี​
    100
    นักศึกษาระดับปริญญาโท​
    20
    นักศึกษาระดับปริญญาเอก​